กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ปัญหาที่พบ..
  |  22 มิย 52 - 09:24:56  
ได้เยี่ยมชมเว็บไซต์นี้แล้ว
รู้สึกชื่นชมในความรู้ความสามารถ
ทั้งยังให้ข้อมูลที่น่าจะเป็นประโยชน์กับใครหลายๆคน
แต่น่าเสียดายที่คนชอบทำของออกมาเหมือนๆกัน
จนไม่มีเอกลักษณ์บางที่ดูไม่ออกว่าเป็นของที่ไหน
อาจารย์คิดยังไงกับปัญหาการลอกเลียนแบบในปัจจุบันนี้คะ


ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 44 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  17 กค 52 - 11:37:08  

และก็อาจจะมีคำถามว่า ลูกค้าอาจจะสั่งสินค้าแบบอื่น

แทนเซรามิก

ซึ่งก็ขอเรียนชี้แจงว่า Ceramic ถ้วย จาน ชาม ถือว่า

ถ้าใช้ในการPromote การขายคู่กับสินค้าทั่วไปหรือแลกซื้อ

ก็ดี จัดว่าเป็นของแจก แถม แลกซื้อที่เอาไปใช้ประโยชน์ได้

ทันที และเป็นที่ถูกใจของลูกค้าเป้าหมายคือกลุ่มแม่บ้าน

ที่มาจับจ่ายใช้สอย

และอีกทั้งราคาของสินค้าเซรามิกก็จะถูกกว่าและดูดีกว่าสินค้า

ประเภทอื่นเมื่อเทียบกับราคาที่เท่ากัน

ดังนั้น ในสภาพเศรษฐกิจแบบนี้โดยเฉพาะตลาดในไทย เมกา

และยุโรป ถ้วย จาน ชาม เซรามิกจึงกลายเป้นทางเลือกที่

เหมาะสมกับเหตุการปัจจุบัน

 แต่การที่เรายังผลิตสินค้าแบบเดิมๆ ก้ใช่ว่าจะมีผู้ซื้อ จำเป้นต้อง

เร่งปรับปรุงรูปแบบการผลิต เน้นการบริการที่รวดเร้ว มีทางเลือก

ให้ลูกค้าหลากหลายขึ้นตลอดจนการรับOrder ที่ไม่จำกัดMinimum

Order มากเกินไปนัก ก้สามารถจะอยู่รอดได้ อีกทั้งบริหารจัดการ

การผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นไม่กองเก็บมากเกินไป ก็สามารถ

สร้างความรุ่งเรืองให้ธุรกิจได้

 

  ความคิดเห็นที่ 43 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  13 กค 52 - 06:23:07  

หลายคนคงสับสนว่า ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้

ยังจะมายุให้ขยายตลาดในแนวราบอีก กำลังซื้อคง

ไม่มี น่าจะหันไปมองที่ High End มากกว่า

ผมนำเสนอด้วยเหตุนี้

กลุ่มลูกค้าแนวราบ ส่วนมากที่จะได้จริงๆเป็นกลุ่ม

Premium ที่จะได้หลักๆ เพราะกลุ่มนี้จำเป็นต้อง

หาของมาแจกเพื่อกระตุ้นยอดขายของตัวเอง

ยิ่งเศรษฐกิจแย่ กลุ่มนี้จะโตสวนทาง และลูกค้า

ต่างประเทศที่ซื้อก็มาก เพื่อเอาไปจัดรายการแลกซิ้อ

เอ่ยชื่อก็มีคนรู้จัก

  ความคิดเห็นที่ 42 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  13 กค 52 - 05:54:55  

การที่ไปลงทุนจ้างมืออาชีพมาออกแบบ

ความคิดนี้ผมสนับสนุน แต่คนที่ออกแบบ

ต้องเข้าใจว่าเราทำธุรกิจอะไร และต้อง

มีหัวคิดในเชิงธุรกิจด้วย ถ้าไม่มี เราต้องเป็น

ผู้กำหนดConcept ให้ว่าเราจะเอาไปขาย

ใน Chanel ไหน เพราะมันแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง

ผมเห็นใน Websiteเดิม

กลุ่มสินค้า Hotel & resterant  มีหลายรูปทรง

ที่ดูสวยงามแปลก ดูดี น่าซื้อ แต่หลายแบบมันไม่

สามารถใช้ในโรงแรมได้ เช่น ออกมาเป็นผิวรูพรุน

แบบฟองน้ำ

ในการใช้งานต้องคำนึงถึงการทำความสะอาดด้วย

ถ้าเศษPlasta ติดในรูพรุ่นการทำความสะอาดด้วย

เครื่องล้างจานหวังว่าคงจะเอาออกหมดนะ ต้นทุน

กับราคาขายมันไปด้วยกันไหม

อีกแบบเช็ดน้ำเคลือบที่ขอบออกหมด ก็ประเด็นทำ

ความสะอาด มันจะทำได้สะดวกไหม

ที่สำคัญ สินค้ากลุ่มที่ออกแบบใหม่ จำนวนยอดสั่งคงจะ

ไม่มากเท่าไรนัก มันเฉพาะเจาะจงเกินไปกับโรงแรมที่เป็น

กลุ่ม Chic Hotel หรือ Modern Hotel ที่เน้นห้องไม่มาก

หรือ Boutiqe Hotel ขนาดห้องอาจจะมีเพียง 50-70 ห้อง

อย่างเก่งขายได้ 300-500 ชิ้นต่อโปรเจ็ค แต่ยอดขายที่ต้องการ

เพื่อ Break Even เราต้องได้ไม่ต่ำกว่า 6 แสนชิ้น มันจะไป

หา Order จากไหนมาพอเพียง

 

  ความคิดเห็นที่ 41 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  13 กค 52 - 05:42:28  

และทางที่ดีที่สุด คือการนำเสนอทางออกให้กับ

ผู้บริหาร ทำแบบนี้กันมาหลายต่อหลายครั้ง

ถ้าไม่รับฟัง ระดับผู้ถือหุ้นต้องรับรู้ว่าเรามีความคิด

เห็นอย่างไรกับเหตุการครั้งนี้ และเราเคยแก้ไข

กันอย่างไร ดีกว่าจะนั่งรอให้เรือจมแล้วกระโดดน้ำ

หนีว่ายเอาตัวรอด คิดหรือว่าจะมีแรงว่ายถึงฝั่ง

และคิดหรือว่าบริษัทจะมีเสื้อชูชีพโยนลงมาให้ลูกเรือ

ช่วยพยุงตัวเองรอยคอรอการช่วยเหลือ

  ความคิดเห็นที่ 40 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  13 กค 52 - 05:19:43  

โรงงานเซรามิก ผู้ที่เป็นผู้บริหารระดับสูง

อย่างน้อยต้องมีพื้นความรู้ทางด้านการผลิต

ในFieldธุรกิจมาบ้าง ถ้าไม่มี คนระดับรองๆ

ต้องเป็นKey ของ องค์กรได้ ทั้งที่ก็ทราบมาว่า

คนที่มีความรู้มีประสบการยังเหลืออีกหลายคน

แต่ก็ไม่ทราบว่าได้ใช้ประโยชน์กับคนเหล่านี้เต็มที่

หรือไม่ อย่างไร

เพื่อให้การทำงานสอดคล้องกัน

การวางนโยบายที่เหมาะสม มาจาก

การนำข้อมูลไปวิเคราะห์อย่างมืออาชีพ ต้องมอง

ให้รอบทิศ และต้องกล้านำเสนอต่อผู้ถือหุ้นหรือ

เจ้าของ ไม่ใช่ Yes Man อย่างเดียว และถ้า

เป็น Mr.Yes Man ต้องเป็นแบบรู้ซึ้ง รู้ว่าอะไร

ควรแตะ ไม่ควรแตะ ต้องรู้จุดเป็น จุดตายของธุรกิจ

การทำธุรกิจมาตั้งแต่ปี 2527-2552 ประวัติศาตร์

มีให้ศึกษามากมาย แล้วก็ไม่ใช่เพิ่งเคยเกิดวิกฤต

เราเจอวิกฤตกันมาหลายครั้ง จนเราจัดระบบ

จัดองค์กรรองรับ รู้ทางหนีทีไล่จนทะลุ เหมือนการทำแผน

ที่ร่องน้ำในการเดินเรือ มันอาจจะต้องเดินเรืออ้อมไปอ้อม

มาเพราะใต้น้ำมันมีสิ่งกีดขวางมากมาย แต่ถ้าคนที่เปรียบ

เสมือนเป็นกัปตันไม่อ่านแผนที่ ไม่ฟังคนที่อยู่ในเรือลำนี้มาก่อน

ไม่ฟังคนที่มีประสบการเดินเรือ กลับขับเรือดุ่ยๆไปตรงๆ เพราะคิดว่า

จะใช้เวลาน้อยที่สุดเพื่อจะไปถึงฝั่ง  ผลมันก็ออกมาอย่างที่เห็น

เรือชนหินโสโครก รอเวลาจม คนที่เดือดร้อนคือลูกเรือทั้งหลาย

ส่วนกัปตันเขามีเรือให้หนีเรียบร้อย ตอนนี้ไม่แน่กัปตันอาจเตรียม

หย่อนเรือบตเตรียมหนีไปแล้วก็ได้

 

 

  ความคิดเห็นที่ 39 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  13 กค 52 - 04:57:18  

ซึ่งกลุ่ม Hotel&Rest เป็นกลุ่มที่ผูกกับการท่องเที่ยว

เป็นหลัก และในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำทัวโลกแบบนี้

มันจะเดินไปได้อย่างไร แนวนโยบายการตลาดต่างหาก

ที่ผิดพลาดจนOrderหดหายไป

และต้องทราบว่า ถึงในสภาวะเศรษฐกิจดีๆ สินค้ากลุ่มนี้

ก็มี Volumeแค่ 30% ของ ทั้งหมดที่เราเคยผลิตได้

และเท่าที่ทราบลูกค้าหลายกลุ่มพร้อมจะกลับมา แต่ดู

เหมือนเราไม่เข้าใจปัญหาตัวเราเองว่าเราปัญหามาจาก

อะไรถ้าคิดจะแก้ไข

แนวความคิดเรื่องนี้ มีหลายโรงงานปิดตัวเองไปเยอะ

เราต้องขยายฐานตลาดแนวราบให้มากที่สุด ถ้าเกิด

สภาวะหดตัว แทนที่จะพยายามปีนป่ายขึ้นไปทั้งที่รู้

ว่าเป็นไปไม่ได้

การทำให้บริษัทมีกำไร ไม่มีใครใช้วิธีนี้ จำได้ว่าช่วงวิกฤต

40 พอร์ซเลนเรายังผลิตที่ 6-8 แสนชิ้น แต่เราปรับสัดส่วน

ขายให้สอดคล้องกับสถานะการ ราคาเราถูกบีบให้ลดลง

แทบจะไม่ได้ประโยชน์อะไรมากมายนักจากอัตราแลกเปลี่ยน

แต่เราอาศัยการจัดการต้นทุนผลิตเพื่อให้ได้ต้นทุนเหมาะสม

การลดต้นทุนโดยการหยุดการผลิต แล้ว FixCost

ทั้งหลายทั้งปวงจะเอาไปเก็บไว้ไหน เอาอะไรมา

เป็นตัวหาร มันคือวิธีการฆ่าตัวตายซะมากกว่า

  ความคิดเห็นที่ 38 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 15:10:10  

อีกหนึ่งช่วงของความคิดเห็นคุณ คนที่กำลังอยู่ภัทรา

" ตอนนี้เราเอาออเดอร์อนาคตมาทำแทบจะหมดแล้ว จากที่เคยทำงานหกวันต่อวีคมาลดเหลือห้าวัน ตอนนี้สี่วันแล้ว ยังไม่รู้อนาคตจะเป็นเช่นไร พนักงานยังรักโรงงานอยู่แต่ก็ขาดขวัญและกำลังใจอย่างมาก ถามเพื่อนๆโรงงานใกล้เคียงเขาก็ผลิตเต็มที่กันหมดแล้ว แต่เรากลับลดกำลังผลิตลงอย่างมาก"

___________________________________________________________________

ปัญหาที่คุณยกมาอยากให้เข้าใจว่า ไม่ใช่เพราะเหตุที่ระบบไม่ดี ถึงไม่มี

order แต่มันน่าจะมาจากการวางนโยบายการบริหารการตลาดมากกว่า

แนวทางการตลาดที่พลิกเปลี่ยนไปจากเดิมคือสาเหตที่ทำให้ order หดหายไป

ไม่เกี่ยวกับProduction แต่ประการใด อย่าเอามาปะปนกันให้สับสน

อย่างที่เคยบอก

เดิมภัทราแบ่ง Chanel การขายออกมาเป็นหลายช่องทาง และแต่ละช่องทางต่าง

Support ในหลายด้าน บางช่องทางเป็นตัวทำเงิน บางช่องทางเป็นตัวหารFixcost บาง

ช่องทางเป็นตัวหมุนเงิน ซึ่งนี่คือกลยุทธที่วางไว้ในอดตี แต่กลับถูกล้มลงไปด้วยแนวคิดที่ว่า

จะผลิตแต่ตัวทำกำไรมากเท่านั้น จึงมุ่งไป Hotel&Rest เพียงอย่างเดียว โดยไม่ให้ความสน

ใจลูกค้ากลุ่มอื่นเช่น House&Home,Wholesale,Premium ในเมือตัด Chanel ต่างๆ

ออกไปหรือไม่สนใจที่จะมุ่งมั่นในการขายChannel ต่างไม่เอื้อประโยชน์กัน นั่นก็คือส่งผลให้

เกิดปัญหาไม่มี order ในที่สุด

และอย่าที่ได้พูดไปแล้วว่า ภัทราอยู่ได้เพราะ

1) ออกแบบแล้วเอาสินค้าที่ออกแบบไปโชว์ การซื้อขายเกิดขึ้นจาก

จุดนี้ แต่เท่าที่ทราบในเวลานี้ ขาดคน Lead ที่แท้จริงทั้งธุรกิจ

นั้นหมายถึง แนวการตลาดที่ชัดเจนและตรงถึงลูกค้าเพื่อนำไปสู่การ

วานแผนออกผลิตภันใหม่เพื่อมีการขายเกิดขึ้น มองว่าในเวลานี้

 ภัทรากำลังขาดตรงนี้ เพราะผู้บริหารชุดเดิมต่างแยกย้ายไปประกอบอาชีพ

อิสระกัน

 เมื่อการตลาดไม่มีคนนำ ทิศทางการนำเสนอรูปแบบไม่มี ที่สำคัญ นั่งรับ

 orderอย่างเดียวทั้งที่ภัทราไม่เคยกระทำแบบนี้มาก่อน โดยไม่เดินไปนำ

เสนอลูกค้าก็เท่ากับการปิดโรงงานกลายๆ

 ดังนั้น อย่าโทษกันเอง อย่าโทษใครเลย ถ้าผู้บริหารยังไม่เปลี่ยนนโยบาย

ต่อให้คุณมีระบบอะไรที่แสนดี ก้มีแต่ขาดทุน จนต้องแก้ปัญหาด้วยการลด

เวลาทำงานและหักเงินพนักงานแถมอีกต่างหาก

 

  ความคิดเห็นที่ 37 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 14:50:20  

" ระบบที่เรามีอยู่นั้นต้องยอมรับอย่างลูกผู้ชายว่ามันผิวเผินนัก เราทำเพียงเพราะมีคนบอกให้ทำ ไม่ได้เห็นความสำคัญของแก่นแท้มันจริงๆ ผมไม่รู้ว่าที่พูดถึงภัทราหลายๆอย่างในหลายกระทู้นั้นเราไม่ค่อยสบายใจนัก หลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดีที่ควรแชร์ให้ที่อื่นทราบ แต่หลายเรื่องเป็นเรื่องภายในเป็นสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมา จริงๆแล้วก็ตั้งใจจะเข้ามาหาความรู้กับเวปนี้เยอะมากที่ได้ความรู้กลับออกไป แต่เจอเรื่องของบริษัทตัวเองเยอะไปหน่อย อ่านเพลินไปเลย อ่านแล้วก็ขำๆกับความสำเร็จมากมายในอดีตของเรา"

____________________________________________________________________

ต้องชัดเจนว่าระบบอะไรที่เราบอกมีอย่างผิวเผิน

1) ระบบควบคุมการผลิต

    QC ,QA,

2) ระบบบริหารจัดการการผลิต

    วางแผน, รายงาน ,วิเคราะห์ปัญหา ,การจัดการกำลังคน

3) ระบบบัญชี

     บัญชีต้นทุน และงบประมาณ

4) ระบบบริหารการบุคคล

5) ระบบบริหารการตลาด

    การออกแบบผลิตภันท์

   การวางช่องทางจำหน่าย

6) ระบบควบคุมสินค้าคงคลัง

7) ระบบจัดส่ง

ต้องให้ชัดเจนว่าเมื่อไรที่บอกว่าผิวเผิน

สิ่งที่อยากจะกล่าวโดยรวมคือ ระบบมีมานานและระบบที่วางไว้

ก็ผลักดันให้กลายเป้นคู่แข่งบริษัทชั้นนำ มิฉะนั้น ภัทราคงไม่มี

โอกาสผลิตสินค้าให้ แบรนด์ดังทั่วโลก ต้องเข้าใจในจุดนี้ด้วย

และมีการพัฒนาให้สอดคล้องกับสถานะการอย่างเสมอ การที่บอก

ว่าดูเพียงผิวเผินถ้าทำอย่างั้นจริงๆ ภัทราพอรืซเลน คงไม่อยู่ได้มา

ตั้งแต่ปี 2536 ถึงปัจจุบันก้นับว่า เกือบ 20 ปี

ส่วนเจอเรื่องตัวเองมากน้อย ไม่ต้องกังวล มันคงไม่ทำให้ภัทราล่มสลาย

ด้วยสาเหตุที่ใครบางคนเอาเรื่องผิวเผินของการทำงานที่ภัทรามาพูด

แต่ที่จะล่มสลายก็เพราะ คนที่กำลังทำงานอยู่เนี่ยแหละที่อันตรายที่สุด

ฟังดูมีอคติต่อบริษัทตัวเองมากเกินไป

ปัญหาแบบที่คุณเจอกันในปัจจุบัน เทียบกับอดีตแล้วยังถือว่าห่างมาก

สมัยปูนเข้ามา เจอมาหนักกว่านี้เป็นสิบเท่า ก้ไม่ได้ทำให้ทัศนคติผม

เปลี่ยนไป ยังมองสิ่งที่ดีๆ ที่ได้รับแล้วเอามาถ่ายทอด นี่คือความคิดที่สร้าง

สรรค์กว่า

ส่วนเรื่องเราทำเพราะมีคนบอกให้ทำ เป็นเพราะเราไม่มีความคิดอะไรที่ดีกว่า

หรือไม่ เราไม่สามารถพิสูจน์ตัวเราเองให้น่าเชื่อถือหรือไม่เขาถึงไม่ฟังเรา

นี่ก้ฝากเป้นข้อคิดไปด้วย

  ความคิดเห็นที่ 36   |  12 กค 52 - 14:34:33  

อีกข้อคิดทีผมอยากจะตอบ

จากคุณ คนที่อยู่ภัทรา

" ก็อย่างที่คนในกระทู้นี้ถาม เราเองก็ยังต้องมองรอยัลพอส์ซเลน มองราชา มองแม้แต่กาสะลอง ควอลิตี้ ว่าทำไมเขายังรักษาระดับการขาย การผลิต เราหยุดอยู่กับที่และดูเหมือนจะแย่ลงด้วยซ้ำ ตอนนี้เราเอาพนักงานไปฝึกอาชีพอื่นๆด้วยในเวลาว่าง ก็ยิ่งทำให้พนักงานคิดกันไปต่าๆนานา"

_____________________________________________________________________

ผมไม่เคยมองว่า คุ่แข่งของภัทราจะด้อยกว่า กลับมองว่าเป้นอะไรที่น่าเรียนรู้เป็นอย่างยิ่ง

ในบางเรื่อง แต่ผมก็เห็นจุดอ่อนในบางเรื่องของเขา เคยได้เข้าไปดูโรงงานบางโรงและ

เคยทำนายไว้ในใจ สุดท้ายก็จริงอย่างที่คิด ว่าวันหนึ่งก้คงประสบวิกฤตเช่นที่ภัทราเคย

เจอ ดูจากงบการเงินบางบริษัท  ขาดทุนแค่ปีเดียว 90 กว่าล้าน จากการลงทุนที่ผิดพลาด

และผมมองจากการเดินดูโรงงาน ผมย้อนไปถึงเมื่อวันที่ ภัทรา ผลิต 2.7 ล้านชิ้น เรียกว่า

อัดกันเต้มเหนี่ยวแต่ขาดทุนเดือนละกว่าสิบล้านบาท ก็เดินตามหลังกันมาทั้งนั้น และหนึ่งใน

โรงงานที่คุณพูดถึง ผมได้มีโอกาสเจอผู้บริหาร และวิเคราะห์งบการเงินให้ดูโดยPoint จุดที่

เขาคิดว่าเป้นเรื่องธรรมดาของเขา นั้นคือ inventory มีมุลค่ามากกว่ายอดขายถึง 20 เท่าตัว

ผมตีแผ่ให้เขาเห้นและPointในจุดต่างๆว่า จริงแล้ว Inventory ควรจะเป็นเท่าใด มันคือการ

สะท้อนให้เห้นผลการทำงานที่ผิดพลาดของทีมงานบริหารเขา ก็ไม่ทราบว่าเพราะเหตุนี้หรือเหตุใด

ทราบว่ามีการเปลี่ยนผู้บริหารกันไปแล้วแบบกระทันหัน ผมวิเคราะห์จากข้อมุลต้นทุนผลิตที่ส่งให้

ผมดู ยอดขาย สินค้าคงเหลือ ซึ่งเดิมเขากลับไม่สนใจในประเด้นนี้ เพราะคิดว่ามันอาจจะสะสมตาม

ยอดเกินการผลิต ซึ่งในทางเป็นจริงแทบเป้นไปไม่ได้ว่า ใครจะผลิต จะ stock สินค้ามากมาย

ขนาดนั้น

 

 

  ความคิดเห็นที่ 35 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 13:46:45  

ขออนุญาตินำความเห็น คุณ คนที่กำลังอยู่ภัทรา ยกมาเพื่อกล่าวเสริมให้เข้าใจมากขึ้น และขอคำตอบ

" อย่าสงสัยเลยครับ ที่อ่านมาหลายๆกระทู้ในเวปนี้จะดูเหมือนกับว่าบริษัทภัทราเป็นบริษัทที่ดีมากๆมีระบบการพัฒนา บริหารดี แต่ในความเป็นจริงมันเป็นช่วงเวลาที่คู่แข่งเราไม่แข็งแรงนักในวันนี้คู่แข่งพัฒนาอย่างรวดเร็ว"

_____________________________________________________________

1) การบริหารจัดาการดีหรือไม่ดี  เราต้องดูได้จากผลของความสำเร็จดังนี้ครับ

    แต่ผมมีคำถาม กลับไปยังท่านบ้างว่า

    ในช่วงเวลานับแต่ ปี 2536-39 ช่วงนั้น ภัทราประสบสภาวะถูกคู่แข่งจีนตีตลาด

    เราใน USA สำหรับสินค้าสโตนแวร์ และในเวลานั้นทีมบริหารก็เป็นชุดที่มาจาก

    บริษัทยักษ์ใหญ่วงการก่อสร้าง ซึ่งเจ้าของได้ดึงตัวมาให้บริหารจัดการซึ่งประสบการ

    ถ้วย จาน ชาม ไม่มีติดตัวเข้ามา ดังนั้นการมองธุรกิจมันก้แตกต่างกันไปจากบริหาร

    สินค้าแนว ก่อสร้าง มาสู๋ตลาด House&Home เวลานั้น ส่วนใหญผลิตเคลือบขาว

    ติดลาย ส่งออก 80% ในประเทศขาย 20% เคลือบสีเราทำการผลิตยังไม่มากเดือน

   หนึ่งไม่เกิน 3 แสนชิ้น แบบง่ายๆ ซึ่งก็ไม่ต่างจากช่วงปี 2530-2536 ซึ่งในที่สุดตลาด

   ก็ประสบปัญหาขายสินค้าไม่ได้ราคา เพราะต้องสู้กับจีน จนถึงกลับลดการส่งออกมาเพิ่มขาย

   ในประเทศแทน ในราคาที่แทบจะเรียกได้ว่าขาดทุน และก็เกิดการขาดทุนสะสมอย่างมากมาย

    แต่หลังจากนั้นในปี 2540 เรากลับพลิกฟื้นอย่างรวดเร็วเร็วเพราะอะไร เราทำไมถึงรอดพ้น

   จากวิกฤต 40 ทั้งที่ เจ้าของยกมือยอมแพ้ เตรียมปลดพนักงาน

  ค่าอัตราแลกเปลี่ยนหรือ  แต่อย่าลืมว่ามันเป็นผลพรอยได้ที่คู่แข่งเราเช่นจีนก็ได้เหมือนเรา

  อินโดก็เช่นกัน แล้วอะไรล่ะที่มันพลิกผัน หรือว่าเราขายได้ราคาดีเหมือนถูกหวยรางวัน

  ที่หนึ่งหรือ เราจะฟลุคกันมาตั้งแต่ ปี 40-47 หรือ

   ก็ต้องขอคำตอบบ้างครับ เพราะอะไรเราถึงอยู่ได้ ถ้ามาจากภัทราคงหาคำตอบได้ ผมจะรอ

   ฟังนะครับ

2) คำว่าคู่แข่งไม่แข็งแรง หมายถึงเขาผลิตไม่เก่ง คุณภาพไม่ดีหรือครับ

     แต่อย่าลืมนะครับ เรากระเจิงออกมาจาก USA ตั้งแต่ปี 37-38 เพราะ

   อะไรครับ เพราะจีนขายต่ำกว่าเราครับ ถ้าเขาไม่แข็งแรง เขาจะขายสู้

    กับเราได้ไหมและลูกค้าจะซื้อเขาหรือไม่

    หรือคู่แข่งในประเทศ

   ก็ถามกลับว่า ถ้าเขาไม่แข้งแรง ยอดออร์เดอร์ของภัทราก็คงไม่มีใครเอาไปทำได้

   Gibson,Ikea,อีกสารพัด  

   ดังนั้น ต้องขอบอกว่า ภัทราเจอคู่แข่งที่แข้งแรงมาตลอดนับแต่จีนเข้าตลาด

   USAเป้นต้นมา เขาขายของถูกกว่าเรา อันนี้แน่นอน คุณภาพอาจเป้นรอง

   แต่ลูกค้าเลือกและยอมรับได้ นั่นคือจุดที่เราเผชิญในช่วงวิกฤต 40

  

 

 

  ความคิดเห็นที่ 34 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 13:32:39  

ผมเสนอประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อแชร์กับท่านผู้มีประสบการณ์อาจจะมากกว่าผม

และไม่ได้หมายความว่าบริษัทที่เคยทำงานด้วยจะดีหรือไม่ดีกว่าใครอย่างไรเพราะ

นั่นไม่ใช่เป้าหมาย และไม่มีประโยชน์ที่จะบอกว่าเราดีกว่าใครไปเพื่ออะไร แต่นี่คือ

สังคม ที่วันหนึ่งในเมื่อสังคมในการทำงานได้ให้โอกาสเรา เราก็ควรจะให้อะไรตอบแทน

กลับไปสู่สังคมบ้าง เราเอาความรู้มาทำมาหากิน วันหนึ่งเราต้องให้คืนสู่สังคมบ้าง

นี่คือจุดยืนที่ไม่เคยเปลี่ยน แม้แต่ในช่วงชีวิตที่เป้นลูกจ้าง ก็คือการทำ การพํฒนาองค์

กร ให้เติบโตอย่างมีคุณภาพและประสิทธฺภาพ ดังที่เคยพิสูจน์ให้เห้นมาแล้วคนภัทรา

เซรามิกคงรู้ดี ส่วนภัทราพอรืซเลน อาจจะใช้วิธีบริหารที่แตกต่างกัน นั่นคือที่คุณคน

ทำงานภัทรากำลังพูดถึง วัฒนธรรมองค์กรจะแตกต่างกันไป แน่นอน เพราะถูกควบคุม

ด้วยระบบของญี่ปุ่นแทบจะ 80% ซึ่งนั่นก็คือแนวทางที่ถูกกำหนดไว้และมันก้ส่งผลดี

โดยรวม เพราะพิสูจน์ให้เห้นว่า เราใช้เวลาเพียง 8 เดือนในการ สร้างทั้ง ปริมาณและ

คุณภาพไปสู่เป้าหมาย ทั้งที่ ญี่ปุ่นเองประมาณการไว้ว่า กว่าเราจะทำได้ตามมาตรฐาน

ที่ญี่ปุ่นกำหนด ต้องใช้เวลาถึง 3 ปี นั่นคือประวัติศาสตร์ของภัทรา พอร์ซเลนสมัยที่

กำลังก่อตั้งใหม่ๆ ย้ำว่า เป็นเพียงบอกเล่าประสบการณ์จากการทำงานโรงงานหนึ่งให้ทราบ

โดยมิได้มุ่งมั่นที่จะยกตนข่มใครหรือแสดงความอวดเก่งให้กับใครทั้งสิ้น

  ความคิดเห็นที่ 33 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 13:26:02  

ดังนั้นการเล่า การถ่ายทอดประสบการณ์ที่เคยร่วมงาน

กับบริษัทหนึ่งที่ผมอยู่มาครึ่งชีวิตการทำงาน ผมได้อะไร

มาบ้าง สังคมเซรามิกคงได้รับประโยชน์ไม่มากก็น้อย

และหลายคนคงรู้ว่าอะไรที่ดีกว่าที่ผมเคยทำ และผมเชื่อว่า

ก็มีหลายคนที่ยังคงต้องมีการพัฒนาเพื่อให้มาถึงจุดที่ผมเคยยืนอยู๋

ดังนั้น เราควรจะเน้นการแชร์ มากกว่าที่จะมาวิภาควิจารย์กันและที่สำคัญ

ถ้าวันหนึ่งเรามีความรู้สึกที่ไม่ดีต่อบริษัทที่เราทำ มองว่าองค์กรนี้ไม่ดีละก็

ผมแนะนำให้ลาออกเลยครับ อย่าอยู่ ไม่มีประโยชน์ครับ ถ้าอยู่ไปด่าองค์

กรที่ตัวเองกินเงินเดือนเขาไปวันๆ ผมก็คิดว่า นอกจากผู้บริหารมีปัญหาแล้ว

ตัวคนวิภาควิจารย์องค์กรตัวเองนั่นแหละคือตัวทำให้องค์กรตัวเองไม่ไปถึงไหน

 

  ความคิดเห็นที่ 32 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 13:22:22  

ที่อยากให้เข้าใจอีกเรื่องคือ

เวปนี้ คือแหล่งที่ต้องการให้เป็นศูนย์กลาง

การพบปะ พูดคุย แลกเปลี่ยนประสบการณ์

ความคิดเห้น ก็คงต้องการให้เป็นเวปเพื่อประโยชน์

ต่อสังคมของชาวเซรามิกทั้งหลายทั้งปวง

ดังนั้น สิ่งที่เอามาแลกเปลี่ยนคือความรู้ ประสบการณ์

ดีๆ ที่แต่ละท่านอยากเข้ามาแชร์ ผมเข้าใจแบบนี้

คงไม่มผิดไปจากวัตถุประสงค์ของเจ้าของเวป

 

  ความคิดเห็นที่ 31 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  12 กค 52 - 11:08:35  

คงจะขึ้นอยู่กับการบริหารมากกว่าจะขึ้นอยู่กับ

ตัวภัทราเองครับ เครื่องจักร สูตร พนักงานก็ยัง

เป็นคนเดิมๆ เป็นส่วนใหญ่ ที่ต่างกันก็คือหัวของ

องค์กรครับ ถ้าหัวไม่คิด ไม่วาง ไม่เดิน ต่อให้ระดับ

ล่างผลักดันอย่างไรก็ไม่มีทางเดินต่อไปได้

อย่าลืมว่า เราเปลี่ยนแปลงอะไรกันบ้าง ให้มองไปที่

ภัทรา เซรามิกก็ได้ ทำไมสามารถต่อสู้กับคู่แข่งทั้งในและ

ต่างประเทศมาได้อย่างยาวนาน ทั้งที่เจ้าของก็ถอดใจตั้งแต่

ก่อนปี 40 อีก

สมัยผมอยู่ ผู้บริหารต่างคิดและมองไปในอนาคตร่วมกัน

และที่สำคัญ เรามองอนาคตได้ชัดเจน ถ้าไม่เช่นนั้น คงไม่

มีโรงงานที่ไปJoint Venture กับ Denmark สามารถ

ส่ง order ให้ ภัทรา พอร์ซเลนได้ในมูลค่าถึง 15-20 ล้าน

ต่อเดือน ขาย Glostwareอย่างเดียวได้ถึงชิ้นละเกือบร้อย

บาท มันคือวิสัยทัศน์ที่ผู้บริหารในอดีตของภัทราได้วางเอา

ไว้ และไม่เช่นนั้น วิกฤตปี 40 ที่เกิดขึ้น คงไม่เห็นภัทราในทุกวัน

นี้

ส่วนปัญหาภายใน ณ ปัจจุบัน ผมมองว่า มันเกิดจากการบริหาร

ระดับสูงที่วางนโยบายไม่ถูกต้อง การเลือกตัวผู้บริหารที่ไม่มีความ

รู้และความเข้าใจในระบบบริหารโรงงานประเภทนี้

 เคยทำแต่แป้งมัน แป้ง

ผสมซ้อส มาบริหารโรงงานถ้วย จาน ชาม มนจะไปเหลืออะไร

ต้องย้อนกลับไปดูว่า ปี 40-45 ภัทรา ทำกำไรเท่าไร และอยู่ๆ

ทำไมกำไรถึงเปลี่ยนเป็นขาดทุนภายในเวลาไม่ถึง สองปี

ทุกอย่างมันอยู่ที่วิสัยทัศน์ของผู้บริหารที่จะนำทางองค์กรทั้งสิ้น

ถ้าเราไม่มีการพัฒนาทุกด้าน เราจะรอดมาจากปี 40 กันอย่างไร

และต้องถามกลับ ตอนนี้ภัทรารู้ไหมว่าใครเป็นคนขายสินค้า

 

 

  ความคิดเห็นที่ 30 คนที่ยังอยู่ภัทรา  |  12 กค 52 - 09:52:46  

สงสัยอย่างหนึ่งคือเท่าที่อ่านมาในกระทู้นี้ภัทราดูมีระบบดีแต่ทำไมเจ้านายผมหรือโรงใหญ่ๆในสมาคมเซรามิคลำปางเองเวลาเราพูดถึงหรือต้องการแบบอย่างที่ดีเราจะนึกถึงแต่รอยัลปอซ์สเลนกับคราวน์เซรามิก มากกว่า คนที่โรงงานก็มาจากภัทราหลายคนดูเขาไม่ค่อยประทับใจกับโรงงานเก่าของเขาเท่าใดเลย

อย่าสงสัยเลยครับ ที่อ่านมาหลายๆกระทู้ในเวปนี้จะดูเหมือนกับว่าบริษัทภัทราเป็นบริษัทที่ดีมากๆมีระบบการพัฒนา บริหารดี แต่ในความเป็นจริงมันเป็นช่วงเวลาที่คู่แข่งเราไม่แข็งแรงนักในวันนี้คู่แข่งพัฒนาอย่างรวดเร็วในขณะที่เราเชื่องช้า ระบบหลายอย่างอยู่แค่ระดับสตาฟไม่ได้ลงไปถึงพนักงานระดับล่าง คนงานยังทำงานเหมือนเมื่อตอนที่คุณชาวโป่งแล้งยังอยู่ไม่ได้พัฒนาขึ้นมาเลย ตอนนี้เราเอาออเดอร์อนาคตมาทำแทบจะหมดแล้ว จากที่เคยทำงานหกวันต่อวีคมาลดเหลือห้าวัน ตอนนี้สี่วันแล้ว ยังไม่รู้อนาคตจะเป็นเช่นไร พนักงานยังรักโรงงานอยู่แต่ก็ขาดขวัญและกำลังใจอย่างมาก ถามเพื่อนๆโรงงานใกล้เคียงเขาก็ผลิตเต็มที่กันหมดแล้ว แต่เรากลับลดกำลังผลิตลงอย่างมาก ก็อย่างที่คนในกระทู้นี้ถาม เราเองก็ยังต้องมองรอยัลพอส์ซเลน มองราชา มองแม้แต่กาสะลอง ควอลิตี้ ว่าทำไมเขายังรักษาระดับการขาย การผลิต เราหยุดอยู่กับที่และดูเหมือนจะแย่ลงด้วยซ้ำ ตอนนี้เราเอาพนักงานไปฝึกอาชีพอื่นๆด้วยในเวลาว่าง ก็ยิ่งทำให้พนักงานคิดกันไปต่าๆนานา

ระบบที่เรามีอยู่นั้นต้องยอมรับอย่างลูกผู้ชายว่ามันผิวเผินนัก เราทำเพียงเพราะมีคนบอกให้ทำ ไม่ได้เห็นความสำคัญของแก่นแท้มันจริงๆ ผมไม่รู้ว่าที่พูดถึงภัทราหลายๆอย่างในหลายกระทู้นั้นเราไม่ค่อยสบายใจนัก หลายเรื่องเป็นเรื่องที่ดีที่ควรแชร์ให้ที่อื่นทราบ แต่หลายเรื่องเป็นเรื่องภายในเป็นสิ่งที่เราพัฒนาขึ้นมา จริงๆแล้วก็ตั้งใจจะเข้ามาหาความรู้กับเวปนี้เยอะมากที่ได้ความรู้กลับออกไป แต่เจอเรื่องของบริษัทตัวเองเยอะไปหน่อย อ่านเพลินไปเลย อ่านแล้วก็ขำๆกับความสำเร็จมากมายในอดีตของเรา

  ความคิดเห็นที่ 29 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 20:08:03  

ปีนั้น ทาง Circle Quality Kasalong เจอกันหมด แต่อยู่คนละ Hall

ที่สำคัญ แม้แต่ TW Ceramic ลำปางก็ได้เห็นไปดชว์ที่งานนี้

จริงแล่ว งาน Fair ของโลกทางด้าน ถ้วย จาน ชาม เซรามิก

มีหลายงานมาก

ที่ ญี่ปุ่น ดูไบ อิตาลี่ เมริกา เยอรมัน แต่ทุกคนยอมรับกันว่าที่

เยอรมันจะเป็นตลาดใหญ่ของถ้วย จาน ชาม มีนักออกแบบ มีทั้ง

ผู้ผลิต ต่างนำสินค้าตัวเองมาแสดงกันเป็นพัน บริษัท และลูกค้าจาก

ทั่วโลกต่างก็วางโปรแกรมหลักที่จะมาVisit ที่นี่

สำหรับ Patra จะเตรียมงาน แสดงสินค้าช่วงเดือน ตุลาคมถึงเดือน

มกราคม เพื่อจะเอาไปแสดงในเดือน กุมภาพันธ์ และหลังจากนั้น ก้จะ

เตรียมงานอีกครังในเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม เพื่อไปแสดง

ในเดือน สิงหาคม ปีละ 2 ครั้ง

  ความคิดเห็นที่ 28 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 19:49:41  

ตัวอย่างของ brand ดังของโลก

Rosental

http://th.upload.sanook.com/embed/406f4eacb8ffc9f1bec0b57abe6cd20d.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/beb80a77e295bb1e231706600b1e5a22.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/a64ef0f2700718a4fc72889789f8c3f0.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/d7b23a206561c5d92f2265ad6a5985af.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/d73fd7c000d27e859c8973afc7c5b158.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/a2d30e1238bd2660fbcd7400091e8f69.JPG

อันนี้สังเกตุด้านขวาเป็นลายที่ คล้ายกับ patra ทำไปแสดงด้วย

http://th.upload.sanook.com/embed/64488f13ea428ce4ce13711ad14f7851.JPG

อันนี้ Rosental ทำให้ Hermes

http://th.upload.sanook.com/embed/496c93f3f22d89bea84ec7d05e01487e.JPG

นี่เป็นงาน Free Form อีกแบบหนึ่ง

http://th.upload.sanook.com/embed/57173292af7df86daa93a91e20ab6095.JPG

 

  ความคิดเห็นที่ 27 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 19:39:33  

ตัวอย่าง อีกแบบ ที่เราเตรียมไปโชว์

ผมีแต่รูป Art Work

http://th.upload.sanook.com/embed/b44d255c36bfc3510cfd27f3373c8bb4.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/ede7547ea64385b800b84927c5eaed58.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/53e18ef66e4436fbab189897733e7654.jpg

ตัวอย่าง Breakware ที่กำลังเป็นที่นิยมเมื่อสองสามปีที่แล้ว

http://th.upload.sanook.com/embed/2feb9bbe974de7cb9b6c6e5796f84027.jpg

งานแบบนี้จะมียอดสั่งมากแต่เรารับทำเพียงแค่เดือนละ 150,000 ชิ้น

http://th.upload.sanook.com/embed/2088dc5d5ed076b1cb5a102fe936a10c.jpg

  ความคิดเห็นที่ 26 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 19:36:47  

ตัวอย่างสินค้า Stoneware ที่เรามี order ในปีนั้น

http://th.upload.sanook.com/embed/c418f26a4b112bda3948f1bb229caa11.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/41192ca0353dc03fa75b8e20c7424bd1.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/d49e4c1e507d732a144175eea9789c81.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/35e6327636e030029578bc3d437a4059.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/e83456e6f98e9a54cc30fa188fe787ca.jpg

  ความคิดเห็นที่ 25 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 19:24:51  

สำหรับเรื่อง เทคนิกการผลิตให้ซับซ้อน ความจริงไม่ต้อง

 

โรงงานใหญ่หรอกครับ โรงงานเล็กก็สามารถใช้แนวทางที่

 

มี เอาทรัพยากรที่มีมาประยุกต์ได้ครับ หลายรูปแบบที่ภัทรา

 

เคยผลิต ก็ไม่ได้ใช้เครื่องมืออะไรซับซ้อน เช่นงาน Spray

 

เราก็ใช้ตู้ Spray Booth แล้วติดหัวSpray ให้มันสามารถ

 

วิ่งกลับไปมาได้บนแท่นที่หมุนได้ ก็ใช้ แท่น Pottery Weel

 

ครับ คือยกตัวอย่างให้ดู ความคิดในการ Create มันก็หาได้ทั่วไป

 

ดูจาก กระเบื้อบ้าง หรือสิ่งรอบตัวมาดัดแปลง

 

 ภัทรามีการออกสินค้าตัวอย่างไปโชว์ที่งาน Frankfurt ถือเป็นงาน

 

ใหญ่ จัดที่เยอรมัน ก้ออกลายไปเป็นสิบลาย ถ้าสามารถขายได้สัก 5

 

ลาย ก็รับ Order กันยาวเกือบครื่งปี 

ผมขอแสดงตัวอย่างที่ไปโชว์ในงาน Frankfurt Fair เพือให้ท่านที่สนใจ

ได้เห็นบรรญากาศครับ

การจัดบูทและบรรญากาศก่อนเริ่มงาน

http://th.upload.sanook.com/embed/adc7a8b9da40293940c8d7a3edbe39f7.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/069dd83824806564297b1a41e15a5cba.JPG

นัดลูกค้ามาเจอในงาน

http://th.upload.sanook.com/embed/6f3796819eb34bc9e21d2103890bc86d.JPG

ปีที่เราไปแสดงสินค้าปีนั้น trand ของสีสด และ trand ของ Free Form Shape กำลังจะมา เราเลย

ออกแบบเข้าสู่ตลาดในแนวนั้นแล้วก็มี order ตามตัวอย่างที่แสดง

ตัวอย่างสินค้า Porcelain ที่มี order

http://th.upload.sanook.com/embed/087113572d315bed68cd67acf9abf4dc.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/822c89ff0f235609bf5e88be11b15839.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/20d3a53f9c417d966336dddc4cd77d40.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/5b57345e5d40173d1b35ac47f9ee6265.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/85088291e82a93d02c5fb9fa03cdb6c0.JPG

 

 

 

  ความคิดเห็นที่ 24 ทุกอย่างต้องเริ่มที่เวปนี้  |  25 มิย 52 - 15:45:07  

จดสิทธิบัตร มันไม่ได้ง่ายอย่างที่อาจารย์พูดเลยครับ แล้วมันก็ไม่สามารถจดที่ครอบคลุมได้ท้งหมด เปลี่ยนนิดเปลี่ยนหน่อย ปรับ นิด ปรับหน่อย แล้วอ้างว่าเป็น inspiration สิทธิบัตรก็ไม่คุ้มครองแล้ว แล้วกว่าผลจะประกาศมาใช้ได้ก็2ปี งานดีไซน์ก็ตกTrendไปแล้ว

 ถ้างานไม่ได้ดีเด่นมากๆจริง

แล้วโรงงานเล็กๆที่ไหนมันจะมีต้นทุนไปตามหา ตามสืบ ตามฟ้องคดีความ นอกจากจะไปเจอแจ๊กพ๊อดจริงๆ สิทธิบัตร ต่อให้มีและดียังไง

คนมันถ้าไม่มีจรรยาบรรณ ก็ก็อปจนได้แหละครับ

เวปนี้เป็นเวปที่ดี และน่าจะต้องเป็นเวปที่เป็นต้นแบบที่จะสร้างจิตสำนึกให้คนที่ทำเซรามิกส์ด้วยกันด้วย

เราไม่สามารถเน้นแต่เรื่องเทคนิกได้

การทำเทคโนโลยี่ให้ซับซ้อน เพื่อหนี้การก็อปปี๊ เป็นทางออกที่ดีทางหนึ่ง แต่มีค่าใช้จ่ายสูง

จะมีกี่โรงงาน ที่สามารถทำ หรือซื้อ Know how อย่างที่ยกตัวอย่างมาได้

เพราะฉะนั้นหลายๆโรงงานหรือเด็กที่จบเซรามิกส์ใหม่ๆ  

เลือกที่จะใช้...การออกแบบ

มาทำให้รูปแบบงาน ของตัวเอง แตกต่างจากสิ่งที่มีตามท้องตลาด

แต่ปัญหาที่เจอคือ

ไม่มีอะไรในใต้หล้าที่โรงงานในเมืองไทยก็อปไม่ได้

น่าดีใจหรือเสียใจครับ

อาจารย์ก็สามารถช่วยปลูกฝั่งได้

เช่นรูปที่นำมาลง เท่าที่เห็นเป็นงานที่นับได้ว่า เออเป็นแค่ใช่inspiration ก็แล้วกัน

เพื่อเป็นการให้เกียรติโรงงานที่ทำของพวกนั้นขึ้นมา โดยไม่ด่าตรงๆ

แต่เราควรจะให้เกียรติแก่คนที่เป็นผู้ริเริม ในการทำด้วย

ถ้าการพัฒนาจะเกิดขึ้น ก็น่าจะได้เห็นทั้ง2ด้าน

ของแท้และของที่ทำให้เหมือนแท้

อย่างที่อาจารย์ว่า คือบางโรงงานที่เริ่มจะทำ ก็เลยก็อปเพื่อเป็นกำลังใจให้ขายงานได้

แต่ที่เห็นน่าจะเป็นของโรงงานใหญ่ๆ

ที่ทำให้เหมือนเพื่อนร่วมโรงงานในจังหวัดเดียวกัน

แล้วมันก็มาฆ่ากันเองในวงการ

เราไม่สามารถทำให้ทุกคน มีจิตสำนึกได้

แต่อาจารย์ไม่คิดว่า เราควรให้กำลังใจ

คนที่ตั้งใจทำให้เกิดการพัฒนา บางเลยหรือครับ?

  ความคิดเห็นที่ 23 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 13:42:26  

สำหรับการจดสิขสิทธิ์ หรือสิทธิบัตร ประเทศไทยมี

กรมทรัพยืสินทางปัญญารับจดทะเบียน

โดยเสียค่าใช้จ่ายประมาณ 2 หมื่นบาทเป็นค่าจดและค่า

ทำเนียมการเดินเอกสาร และใช้เวลา สอง สาม ปี ในการ

รอรับ Certificate ในระหว่างที่รอถือว่าเรายังไม่สามารถ

ทวงสิทธิ์ได้ จนกว่าเราจะได้รับใบ Cert หลังจากนั้น สามารถ

ฟ้องร้องย้อนหลังได้

ถ้าสนใจหาอ่านรายละเอียดหรือเข้าไปสอบถามได้ที่

http://www.anekgroup.com

 

  ความคิดเห็นที่ 22 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 13:19:49  

ตัวอย่างสินค้า Denby

http://th.upload.sanook.com/embed/0d20b313efb718a02df70058c66b2e04.jpg

ราคาอยู่ที่ประมาณ 15 ปอนด์ สำหรับ ขนาด 22.5 cm

  ความคิดเห็นที่ 21 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 13:15:48  

นี่คือรูปแบบสินค้า แนว Reactive Decal ที่ภัทราเคยผลิตขายส่งออกไปยุโรป

และทาง Denby ตัดสินใจส่ง Project นี้ให้

http://th.upload.sanook.com/embed/dfa9c7203a7998a728761dee07faac14.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/6ff1f97d36308bba190d0202f2da1c61.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/66e0db9fc73e51d98837fce271a17ffe.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/75be535ad8b2862a2a5f22cb34bffddc.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/13aa171cac70460a8d921ffe1707dd94.jpg

http://th.upload.sanook.com/embed/c81ad32b76405f6a4830745638956c3e.jpg

 

  ความคิดเห็นที่ 20 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 12:31:23  

จริงแล้ว ในโครงการของ Patra เคยตั้งPlant

ผลิต Mug โดยมีกำลังผลิตที่ตั้งไว้ 2 ล้านชิ้นต่อเดือน

โดยผมได้รับมอบหมายให้นำโรงงาน RABTE มาใช้

ผลิต โดยปรับปรุงทั้งโรงงาน ยกย้าย เครื่องจักรออกไป

สมัยนั้นเรียกกันว่ากลุ่ม Royal ครับ เป็นของตระกุล

 ภัทรประสิทธิ์ กับ กิตติภาพร เขาแบ่งสมบัติ

กัน ภัทรประสิทธิ์ได้โรงแก้ว โรงอิฐ และโรงกระเบื้อง

ขนาด 30x60 ซม มา เราก็ย้ายเตา RHK มาศึกษาว่า

จะเอามาทำประโยชน์อะไรได้บ้าง เป็นเตาใช้น้ำมันเผา

สรุปก้คือใช้ได้เฉพาะบางส่วน เพราะตอนนั้นเราเลิกใช้

น้ำมันเผาแล้ว Line ผลิตกระเบื้องเราก็ดัดแปลงไว้ใช้

บางส่วน เราปรับพื้นที่ สั่งผลิตเครื่องจักร เช่น ATM

Ball Mill ทุกอย่างเตรียมพร้อมที่จะลง ปรากฎว่ามีการ

พูดคุยกันในระดับผู้ใหญ่ว่า คราวน์ กำลังจะขึ้นพอดี ถ้า

แข่งกันตอนนี้ ไม่รู้ใครจะอยู่ใครจะไป สำหรับโรงงาน

Mug สุดท้าย ภัทราตัดสินใจไม่ขึ้น หยุดโครงการแล้ว

นำไปเป็นโรงเก็บของ เก็บสินค้า เหตุที่หยุดเพราะมอง

ธุรกิจในอนาคตว่า เราต้องประสานพลัง มากกว่าที่จะ

มาแข่งขันกันผลิต

แม้กระทั่ง Siam Fire Chaina ก็เคยผลิต stoneware

ควบ Bone ในโรงเดียวกัน ที่รู้เพราะ ผู้จัดการฝ่ายผลิตของ

Siam Fire มาอยู่กับ Patra มาเป็นผู้ช่วยผม ถึงได้ทราบ

เขาก็เลิกผลิต Stoneware ประมาณว่า ถนัดอะไรก็ทำแบบนั้น

จะเกิดประโยชน์สุงสุด

  ความคิดเห็นที่ 19 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 12:11:47  

Denby ตัดสินใจจาก Reactive Decal ที่เราผลิต

อยู่ก่อนแล้ว เขารู้ว่าเราทำงานลักษณะนี้ได้โดยไม่ต้อง

ไปก๊อปวิธีการของเขาดังนั้น ถึงเราจะผลิตให้ เราก็คง

ออกแบบใน Style ของเรา

เอง ไม่จำเป็นต้องไปลอกเขา ซึ่งเขากลับเห็นวิธีทำที่ง่าย

กว่าที่เขาผลิต เนื่องจากเราใช้ Reactive Decal เผา Ingaze

อีกชั้นหนึ่ง จะคุมShade ได้ดีกว่างานเคลือบล้วนๆ

  ความคิดเห็นที่ 18 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 12:02:42  

ขอพูดถึง คราวน์เซรามิกอีกหน่อยนะครับ

ผมเคยไป อังกฤษ พร้อมเจ้าของ คราวน์

ครั้งนั้นเราไปดู โรงงานที่ wedgewood

Denbyพร้อมกับ ดร ดำริ สุโขธนัง และ

ลูกน้องติดตามท่าน ตอนนั้น เราสามารถเข้า

ไปที่ Denby ได้เพราะ Denby กำลังหา

Partner ช่วยผลิตสินค้าให้ ปรกติสินค้า denby

จะไม่มีใครสามารถลอกเลียนได้ ซึ่งผมก้ใช้แนวนี้

กับงาน Reactive Decal เพื่อกันชาวบ้านลอก

เลียนแบบ ครั้งนั้น ได้พูดคุยถึงproject ตัวนี้

ก็มีการนั่งคุยกัน ในที่สุดมาถึงเมืองไทย denby

ตัดสินใจเอาโปรเจ้คนี้ให้ ภัทราผลิต แต่final

MD ของ Denby ได้บินมาดูโรงงาน ดูวิธีการ

ทำงานของเรา เทียบกับของ คราวน์ สิ่งที่เขา

ใช้ตัดสินใจ นอกจาก เทคโนโลยี่แล้ว เขาดูที่

เมื่อแบบหลุดมาให้เราแล้ว เราจะแอบก๊อปงาน

เขาหรือไม่ นี่คือคำตอบที่ทำไมถึงเลือกเรา

 

  ความคิดเห็นที่ 17 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 11:54:25  

ปัจจุบันผมก้ยังทำงานเกี่ยวกับธุรกิจ ถ้วย จาน ชาม ครับ

โดยรับผลิตและส่งสินค้าจำหน่ายในประเทศและต่างประเทศ

ครับ ผมนำเข้าจากจีนมาเข้าตลาดพรีเมี่ยม เหตุที่ต้องทำเช่นนี้

ถามว่ากระทบมากไหมกับสินค้าบ้านเรา รับรองไม่กระทบ

เพราะเป็นสินค้าที่เรารับผลิตกันจนเต้มพิกัดแล้ว หมายถึง

โรงงานที่ทำสินค้าPremium ขนาดนี้ มีเพียงไม่กี่โรงงาน

ผมจะเอา order ไปสอบถามในเมืองไทยก่อน ถ้าไม่มีกำลัง

ผลิตถึงจะสั่งจากจีนเข้ามา การสั่งก้ไม่บ่อย ไม่ใช่สั่งมาStock

เพราะคงทำไม่ได้ขนาดนั้น แต่จะสั่งติด Logo มาให้เลย

และรับงานผลิตสินค้า Premium ด้วยแต่ขอนุญาติไม่ประชาสัมพันธ์

และไม่รับ order ในนี้ เพราะไม่ต้องการให้ที่นี่เป็นแหล่งหาผลประโยชน์

เอาไว้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นจะดีกว่า

สำหรับเวปผม มีคนเข้าชมก็เกือบสามหมื่นครับ เดี๋ยวนี้คนจะหาซื้อจาน ชาม

เซรามิก เป็นของแจกแถมมากกว่าสินค้าตัวอื่น อาจจะเนื่องจากดูมีราคา ใช้งาน

ได้และราคาไม่แพงมากนัก

 

  ความคิดเห็นที่ 16 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 11:37:00  

ถามว่าแล้วลูกจ้างมีส่วนรับผิดชอบต่อการขาดทุนมากน้อยแค่ไหน

ปรากฎว่า ทางเจ้าของก็ตระหนักดีถึงปัญหาต่างๆ ว่าไม่ได้เกินจาก

Performace ของการบริหารจัดการ แต่เป็นเรื่องทางด้านการบริหาร

การเงินของเจ้าของ ถึงทำให้เกิดหนี้สะสมมากมาย

แต่ด้วยตระกุลที่มีโรงเหล้าเป็นรายได้หลัก ถึงแก้ปัญหาสภาพคล่อง

ไปได้หลายครั้ง เพียงขอให้ ลูกจ้างบริหารจัดการอย่าให้มีการขาดทุน

สะสมจนต้องเอาเงินของกลุ่มไปใช้ ด้วยเหตุนี้ เราถึงไปต่อกันได้

แม้มีบางครั้งเช่นปี 40 ที่สถาบันการเงินหนึ่งในธุรกิจของเจ้าของกิจการ

มีอันต้องปิดลง

ฟุบกันทั่วหน้า พนักงานภัทราในเวลานั้นพร้อมใจกันไม่เอา OT ทำงาน

ตั้งแต่ เช้ายันดึก โดยไม่หวังผลตอบแทนพิเศษใดๆ ประกอบกับเราหัน

มามองตัวเราเองว่า เราตะลุยผลิตสินค้า 2.7 ล้านชิ้น เรากลับแทบไม่ได้กำไร

เราปรับตัวมามองตลาดที่ให้ราคาดีในตอนนั้นคือ ยูโรปซึ่งเน้น Solid Color

เป็นหลักและเป็นแนวที่เราทำส่งUSA อยู่แล้ว ประกอบกับเมื่อเราคำนวนยอดขาย

กับค่าใช้จ่าย ตลอดจนรายได้แล้วว่า เราลดกำลังผลิต แล้วนำคนที่มีไปทุ่มงาน

แบบยุโรป ที่เน้น เทคนิก ลวดลาย แปลกๆ ถึงจะหลากหลาย แต่กำลังคนเรารับได้

ปรกอบกับการศึกษาปรับปรุงเครื่องจักรให้ทำงานพิเศษให้เราได้ เราเอามาประยุกต์

ยอดขายเรากลับมาอยู่ที่เดือนละ 45 ล้านบาทแต่เราผลิตเพียงแค่ 1.5 ล้านชิ่น

ส่งผลให้เกิดกำไรถึงปีละกว่า 80-120 ล้าน ผลดีคือเราใช้ทรัพยากรน้อยลง เช่น

วัตถุดิบเชื้อเพลิง ใช้คนเท่าเดิม เวลาเท่าเดิม

นี่คือสิ่งที่เราหมุน ปรับด้วยการ synergy กันทั้งโรงงาน

 

 

  ความคิดเห็นที่ 15 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 11:24:19  

จริงแล้ว ที่กล่าวมาทั้งสิ้นไม่ได้สื่อให้ทราบว่า ภัทราดีหรือไม่ดี

เจตนาก้คือต้องการเล่าถึงประสบการที่ทำงานมากับโรงงานนี้

ถ้าผมพูดผิดก็สามารถแย้งได้ครับ เพราะวัตถุประสงคืคือการแลกเปลี่ยน

และอีกอย่างคำว่า Thaiceraimcsociety มีความหมายดีครับ และอยาก

ให้ใวปแบบนี้นานแล้ว จะได้เป็นที่แลกเปลี่ยนถ่ายทอดประสบการ ความรู้กัน

ภัทรา มีข้อเสียคือ เจ้าของไม่ลงมาดูแลกิจการครับ แค่นี้เองที่เป็นข้อเสีย

การขยายตัวมาหยุดตั้งแต่เจ้าของไปสนใจการเมืองจึงปล่อยให้ลูกจ้างบริหาร

กันเอง รับรู้เพียงแค่ กำไร ขาดทุน

สมัยก่อนเริ่มก่อตั้ง ภัทราใช้เงินลงทุนซื้อเครื่องจักรสำหรับธุรกิจแบบนี้สุงถึง

เกือบ 400 ล้านบาท รวมสิ่งก่อสร้างและทรัพย์สินอื่นๆ ขณะที่ยอดขายแรก

ปีแรกๆ อยู่แค่หลัก 100 ล้าน ขาดทุนในช่วงแรกสะสม แต่ก็ไม่ได้หยุดพัฒนา

ทั้งคน ทั้งเครื่งอมืออุปกรณ์ จนกระทั่งสร้างโรงงาน porcelain เข้าตลาด

หลักทรัพย์ ปี 2536 เราลงทุนไปเกือบ 800 ล้าน ถ้าปัจจุบันก็มุลค่าประมาณ

พันกว่าล้านต้นๆ เพราะเป็นเงินกู้ต่างประเทศ ตอนเจอ ปี 40 porcelain มีหนี้

สุงถึง 400X2 = 800 ล้าน เฉพาะเครื่องจักร รวมสิ่งก็สร้างก็ปาเข้าไปเกือบ

1100 ล้านบาท นี่คือที่มาของปัญหาถึงปัจจุบัน

 

  ความคิดเห็นที่ 14 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 10:59:15  

คนภัทรา ที่อยู่กับโรงงานมาตั้งแต่ต้นจนปัจจุบันนี้ ก็ยังอยู่ประมาณ 75-80%

อยู่มาตั้งแต่เริ่มก่อตั้งครับ ที่เหลือก็กระจัดกระจายไปบางคนก็ไปทำอาชีพ

ส่วนตัวเป็นเจ้าหน้าที่ Lab  บางคนก็ไปสร้างชื่อเสียงในด้านการทำเครื่องจักร

การติดตั้ง บางคนแอบเอาวิธีการชุบเคลือบสองสีไปเผยแพร่ที่ลำปางช่วงปี

2531-32 เอาวิธีการของภัทราไปใช้ก็มากครับ

มีทั้งสองส่วน สำหรับที่ไม่ประทับใจก็คงไม่อยู่กับเรา ออกไปก็คงไม่มีใครสรรเสริญ

ภัทราหรอกครับ ผมก็ออกมาจากภัทรา ทำไมภูมิใจในบริษัทนี้ล่ะครับ

แล้วทำไมภัทราอยู่ได้ในสภาวะต่างๆละ

ถ้าพูดถึง RPC ก็มีอะไรหลายอย่างน่าสนใจ เพราะเป็นโรงงานผลิต Porcelain

และที่สำคัญ Bone China ก็เป็นสิ่งที่เจ้าของเขามองการไกล

 แต่เท่าที่ทราบ คนของ RPC ไม่ค่อยได้ขึ้นไปทำมาหากินแถบลำปางเท่าใด

สำหรับ คราวน์ เซรามิก เรามีคนมาจากคราวน์มาอยู่กับเราเป็นเจ้าหน้าที่ Lab

ก็มี เป็น Ceramisก็มี ก็ต้องมาเรียนรู้ใหม่เพราะ คราวน์ไม่ได้เน้นผลิต Dinner Ware

ไปทาง แก้ว เสียมากกว่า เคยมี Sale ของ คราวน์ลาออกมาแล้ว เอา Order ของ

ลูกค้า มุลค่า 60 ล้าน เป็น Dinner Set เรียกว่า ชุด คาราฮารี บอกคราวน์ใช้เวลา

สองปีถึงจะผลิตจบ เขาต้องการให้เราผลิตให้จบภายใน 6 เดือน เราก็รับมาทำเสร็จ

ภายใน 4.5 เดือน ครั้งนั้น เฉพาะโปรกเจคนี้ ทั้ง Sale ทั้ง ภัทรา ต่างก็ได้กำไรกัน

ชนิดเกินคาด เพราะต้นทุนใช้แค่สิบกว่าล้าน เป็นเคลือบใส ขอบ น้ำตาล reactive

Glaze ดังนั้น คงจะเปรียบเทียบกันไม่ได้

แต่รุ่นบุกเบิกของ กาละลอง ยุคก่อเตา ติดตั้งเครื่องจักรเป็นทีมงานภัทราแทบทั้งสิ้น

เพราะแอบไปซื้อตัวให้ค่าจ้างกันเท่าตัว นั่นคือเมื่อปี 2531-32

หรือยุคที่ Circle ก่อตั้ง ก็คนภัทราทั้งทีม มี ABT ด้วยคนหนึ่ง เข้าไปทำ ทั้งโรงงาน

บางคนที่เคยด่าภัทรา บางครั้งก็เอาชื่อภัทราไปหากินก็เยอะครับ ทุกที่

จาก เครือ ซีเมนต์ไทย ก็ยกชุดมาทำงานที่ภัทราก็มี เอ่ยชื่อก็อ๋อแล้ว ผลสุดท้าย

ออกไปหมด เหลือที่ผมนับถือเพราะเก่งด้านการตลาดคนเดียวที่อยู่จนถึงปัจจุบัน

อาจารย์ คชินทร์ก็รู้จัก เป้น MD PR คนปัจจุบัน เก่งเรื่องงานพัฒนา เก่งกว่าโรงปูน

หลายคนที่เข้ามา แต่แกไม่เคยคุยนะว่าแกเก่งไม่เก่ง ดูที่ผลงานแล้ว ยอมรับว่าพัฒนา

ธุรกิจจนอยู่ได้ทุกวันนี้

 

 

  ความคิดเห็นที่ 13 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 10:20:06  

ดังนั้น Brand ปัจจุบันก้ใช้ By Patra หมด

และแม้กระทั่ง การบินไทย ภัทราก็ได้นำเสนอรูปแบบ

และลายของเราเองเพื่อการบินไทยโดยเฉพาะ แต่เราใส่

คำว่า By Patra อยู่ด้วย

สำหรับสินค้าที่เราผลิต ถึงแม้ว่าเราจะใช้ brand เราเองในการ

ทำตลาดต่างประเทศ แต่เมื่อกำลังการผลิตเราเหลือและยังต้องการ

สร้างโอกาสในการนำตัวเองเข้าสู้สากลมากขึ้น เราก็รับทำแบรนด์

ดังของโลกเช่น Lenox,VB,Denby,Wedgewood ,Avon

ซึ่งก็ไม่ได้มากมายอะไรและก็ไม่แปลกเพราะ แบรนด์ดังระดับโลกก็

ไม่ใช่จะไม่ทำสินค้าให้ใคร

 เช่น Rosental ก็รับทำให้ Hermesโดยเป็น Brand ของ 

Hermes เอง ขายชุดละหลายหมื่น

 ของภัทรา ก็รับผลิตสินค้าให้กับ Jimme Oliver กุ๊กเด็กหนุ่มที่กำลัง

ดังใน UK โดยออกแบบให้แล้วใช้ชื่อร่วมกัน By Patra

ที่ผมเห็นและน่าแปลกใจคือ

Bohemia ผลิตเครื่องแก้วให้ Wedgewood ภายใต้แบรนด์ของ

wedgwoodเอง มันไม่แปลกครับที่จะรับจ้างผลิตแต่เราต้องมีเอกลักษณ์

ในตัวเราเองเช่น เราจะเด่นเรื่องอะไร เอาซะเรื่องเดียว อย่างเก่งอย่างเป็ด

มันจะไม่ได้เรื่องสักทาง ในที่สุดก็มาถึงทางตัน

สมัยนี้ เราต้องเรียนรู้คำว่า Synergy คือการประสานพลัง ไม่ใช่แก่งแย่งชิง

ดีเด่นกันทำมาหากิน ฝรั่งเขาใช้หลักนี้ เขาเจอมาก่อนเราตั้งแต่เรายังปลุกข้าว

เป็นอาชีพหลัก  

ต้องลองศึกษาผู้ที่ประสบผลสำเร็จในชีวิตเขามี 7 Habit ครับ ทำอย่างไร

เขาถึงประสบผลสำเร็จได้ ความสำเร็จในที่นี้ หมายถึงส่วนรวมได้ใช้ประโยชน์

จากความสำเร็จของเรา

    ผมมาถึงตำแหน่งที่ดูและคนเป็นพันคน รับผิดชอบทรัพย์สินและรายได้ของ

บริษัทที่ผมเป็นลูกจ้าง ให้รอดพ้นวิกฤตต่างๆเช่น ปี 40 ขาดแม้กระทั่งเงินสด

หมุนเวียน ผมก็พาลูกน้องหลุดรอดมาได้ จนออกมาทำธุรกิจส่วนตัว ผมใช้หลัก

 Synergy ครับ  และประที่สำคัญ ต้องมองโลกในแง่ดีครับ สำคัญอย่างมาก

และรู้จักเสียสละ

ในจุดที่ผมวางไว้ ณ เวลานี้ผมต้องการอะไร ผมต้องการเพียงนำประสบการณ์ที่ดีๆในการ

ทำงานมาบอกเล่าให้กับสาธารณะได้รับรู้ โดยไม่ต้องการคำชมแต่ประการใด หมายถึงเรามา

ถ่ายทอดแลกเปลี่ยนความรู้ จากสิ่งที่เราเคยทำแล้วสำเร็จ มันอาจจะเป็นสิ่งที่ขัดแย้งกับ

สิ่งที่บางคนเคยเชื่อแบบฝังหัว แต่ผมบอกได้เลยครับ เซรามิกจากตำรา เอามาใช้เป้นแนว

ทางจะดี แต่อย่าลอกมาแป๊ะๆ

UMI Laufen เคยมีความเชื่อแบบนี้ เอานักวิชาการระดับปริญญาเอก  ไปนั่งทำงานประจำ

ไม่ใช่ว่าไม่เก่งผมเชื่อว่าเรียนมาขนาดนั้นต้องเก่ง แถมมีชื่อเสียง แต่เหตุใดไม่ทราบ เขาก้

ไม่ประสบผลสำเร็จในการทำงานร่วมกับ UMI  ผมรับรู้มาจากเพื่อนรุ่นพี่ที่ทำงานเป็น

ผู้จัดการโรงงานที่นั่นสมัยหนึ่งครับปัจจุบันก็เกษียณไปแล้ว

  ความคิดเห็นที่ 12 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 10:16:28  

สำหรับการจัดการตลาดในส่วนของ Domestic

เราแบ่ง Channel ได้ดังนี้

1) Hotel & Resturant

2) Whole Sale

3) Department Store

4) Modentrade

5) Premium

 ซึ่งสินค้าแต่ละแบบส่วนมากจะไม่ให้มีลาย ปะปนกัน หรือจะ

มีก็ต้องแตกต่างเพราะ เราขายส่งออกบางรูปแบบขาซื้อแพงก็ไม่

อยากให้ขายในประเทศในราคารที่ถูก

  ความคิดเห็นที่ 11 คนเกาะคา  |  25 มิย 52 - 10:13:35  

เห็นด้วยกับอาจารย์เรื่อง OEM และเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาครับ ถ้าเราไม่เริ่มสร้างนวัตกรรมและจดสิทธิบัตรไว้เราก็จะถูกลอกเลียนได้ง่ายๆ แต่มีข้อติงอย่างหนึ่งว่าการจดสิทธิบัตรของบ้านเรายุ่งยากมากและต้องเขียนรายละเอียดมากจนน่ากลัว และมีค่าใช้จ่ายบ้างเหมือนกัน

สงสัยอย่างหนึ่งคือเท่าที่อ่านมาในกระทู้นี้ภัทราดูมีระบบดีแต่ทำไมเจ้านายผมหรือโรงใหญ่ๆในสมาคมเซรามิคลำปางเองเวลาเราพูดถึงหรือต้องการแบบอย่างที่ดีเราจะนึกถึงแต่รอยัลปอซ์สเลนกับคราวน์เซรามิก มากกว่า คนที่โรงงานก็มาจากภัทราหลายคนดูเขาไม่ค่อยประทับใจกับโรงงานเก่าของเขาเท่าใดเลย

  ความคิดเห็นที่ 10   |  25 มิย 52 - 09:56:38  

การจัดการตลาดของ ถ้วย จาน ชาม ถูกแบ่งออกเป็นสองกลุ่มใหญ่คือ

1) EXPORT

2) DOMESTIC

 สำหรับ export ฐานที่มั่นตอนนี้เราใช้ ITALY เป็นฐาน

 Stoneware&Porcelain

และ USA ,Japan, Singapore,Malaysia เป็นฐาน

สำหรับ Porcelain โดยเฉพาะ เหตุเนื่องจากเราต้องการ

สร้างรูปลักาณ์ของเราให้แตกต่าง และที่Italy คือฐานปล่อย

สินค้า Solid Color เป็นหลัก

  ความคิดเห็นที่ 9 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 09:53:12  

เราใช้ สอง แบรน์ด สำหรับสินค้าในประเทศ

ถ้า Whole Sale เราใช้ May Flower

ถ้า Department Store เราใช้ House&Home

ถ้า ต่างประเทศเราใช้ Newcor

แต่หลังจากการเข้าตลาดปี 2536 Brand ของเรามี Brand เดียวคือ

PATRA

 

  ความคิดเห็นที่ 8 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 09:27:20  

คำว่า OEM ที่กล่าวถึง สำหรับภัทรา คงเข้าใจคลาดเคลื่อนไป

เล็กน้อย

ภัทราออกแบบเองครับ  เรามีตัวแทนจำหน่ายคือบริษัทของเรา

เองครับที่ ITALY เราเป็นเจ้าของที่ ITALY ครับ และอดีตก็อย่าง

ที่ผมเคยเล่าไว้ในหัวข้ออื่นว่า Patra มีการลงทุนใน อเมริกา

กับ JMP NEWCOR มาตั้งแต่ ปี 2530 ก่อนที่เราจะเข้าตลาดหลักทรัพย์

ในปี 2536

มีการส่งคนไป TakeOVER โรงงานใน Mexico ครับ เรายังฝึกงานให้กับพวก

 maxicanซึ่งมาอยู่ฝึกงานกับเราตั้งแต่ปี 2531-2532

JMP NewCor เป็นผู้ค้ารายใหญ่ของอเมริกา มี Conection กับ

Wall Mart ดังนั้น เรื่องนี้คงเข้าใจคลาดเคลื่อนครับ

       สำรับโรงงาน ถ้วย จาน ชาม ริมคลอง ต้องเรียนชี้แจงว่า

เท่าที่เห็น สินค้าลาย กนก ก็ลายที่ออกแบบเองใช้จนติด

ตลาด เป้นสินค้าที่พวก Whole Sale จะสั่งกันมาเป็นสิบปี

ใช้แบรน์ด May Flower ซึ่งก็มีขายในตลาดจนถึงปัจจุบันนี้

หรือลาย คาบาน่า สีครีม ของน้ำตาล ก็เป็นสินค้าที่เราออก

แบบเอง หรือ ลายทีผมยกตัวอย่างไว้ข้างล่าง ก้คือรูปแบบที่

เราพัฒนาขึ้นมาเองก็ย้ำไว้ว่าจนป่านนี้ Reactive Decal

ก็ยังหาคนลอกเลียนไม่ได้นั่นหมายถึง เรามีรูปแบบของเราเอง

การขายสินค้าของภัทรา ไม่ใช่เอาตัวอย่างของใครมาก๊อบแล้วมี

Orderครับ คงเข้าใจผิด

เพราะถ้าเราขายสินค้าแพงครับโดยการก๊อปเขามา

( ไม่ได้ถูกเลย ชิ้นละ 2-3 เหรียญ) สำหรับงานPorcelain Dinnerware

ไม่รวม Accesories

หรือชิ้นละ .65-1เหรียญ สำหรับ Dinner Set stoneware ถ้าแพงขนาดนี้

เราขายไม่ได้ครับ เขาไปสั่งจีนกันหมด ซึ่งจีนเข้าตลาดตั้งแต่ปี 2538-39 ครับ

ที่เราขายผ่าน บริษัทของเราที่Italy ก็หาใช่ของราคาถูกไม่ ซึ่งทั้งนี้เราส่งออกถึง

 1.4-1.5 ล้านชิ้นต่อเดือนสำหรับStoneware ก็ถือว่าสำหรับ Dinner Set

ก็ยังไม่มีใครรับผลิตได้ขนาดนี้

  ความคิดเห็นที่ 7 คชินท์  |  24 มิย 52 - 17:56:50  

ต้องขอขอบคุณสำหรับคำชม ถือเป็นกำลังใจอย่างยิ่งในการทำงานและทำเวปนี้ ซึ่งนอกจากในเวปบอร์ดก็จะมีโทรศัพท์ มีคำถาม มีให้ช่วยเข้าไปสอน ไปช่วยให้คำปรึกษาเยอะเลยครับ ซึ่งผมสนุกกับการทำงานตอนนี้มาก เมื่อก่อนผมทำงานโรงกระเบื้องไปอยู่ทั้งในไทย อเมริกา ปักกิ่ง และโรงงานที่ปูนไป Take over แต่ปัจจุบันผมเป็นที่ปรึกษาโรงงานทั้งโรงกระเบื้อง โรงถ้วยชาม โรงกระเบื้องหลังคา โรงสุขภัณฑ์ โรงลูกถ้วยไฟฟ้า โรงKiln furniture โรง Flower pot โรงของตกแต่ง ผมอาจไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญที่สุดในแต่ละด้านแต่ผมน่าจะพบเห็นและทำงานกับโรงงานที่ทำผลิตภัณฑ์แตกต่างกันมากที่สุด และConcept ผมที่ยึดมาตลอดก็คือเมื่อรับเป็นที่ปรึกษาผลิตภัณฑ์ใดแล้วจะไม่รับทำให้กับโรงงานอื่นที่เป็นผลิตภัณฑ์เดียวกัน เพราะคงทำงานลำบากมากและผู้รับการปรึกษาเองก็อาจไม่สบายใจถ้าเราเอาเทคนิคบางอย่างของอีกที่ไปทำให้อีกที่

ปัญหาการลอกเลียนแบบนั้นเกิดจากการที่บ้านเราไม่ได้ให้ความสำคัญถึงสิทธิทางปัญญา การจดสิทธิบัตรของเรายังน้อยมากๆเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ดังนั้นการลอกเลียนแบบก็ง่ายมากๆเพียงแต่ไปซื้อของคู่แข่งมาแล้วทำให้เหมือนก็เรียบร้อย ถ้าเราให้ความสำคัญกับการจดสิทธิบัตรซึ่งปัจจุบันสะดวกและรวดเร็วขึ้นมากเราก็จะสามารถรักษาสมบัติทางปัญญาของเราไว้ได้ อันนี้มองในมุมของคนที่ป้องกันการลอกเลียนแบบนะครับ บริษัทหลายแห่งที่ผมช่วยเขาอยู่ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้นำในแต่ละ Product ก็ได้ให้ความสำคัญในเรื่องนี้มาก รวมทั้งมีหน่วยงานที่พัฒนานวัตกรรมและเทคนิคการผลิตเพื่อให้Product copy ยากขึ้นและยังสร้างให้เป็นผู้นำทางเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถ้าเรามองในแง่ดีการลอกเลียนจะทำให้เรามีแรงขับในการวิ่งหนีและเกิดการสร้างนวัตกรรมในที่สุด บางครั้งการทำงานก็ต้องมี Pressure บ้างถึงจะมันและท้าทายครับ

คราวนี้มองในมุมของคนลอกเลียนแบบบาง ถ้าเราเข้าใจเขาเราอาจเห็นใจ บางครั้งโรงงานที่เกิดใหม่ก็จำเป็นต้องมีการลอกเลียนแบบเพื่อให้เขาสามารถขายของให้ได้กำลังใจก่อน หลังจากทำจนเริ่มเก่งก็อาจมีการพัฒนาจนเป็นรูปแบบหรือเทคนิคของตนเองได้ แต่ถ้าจ้องจะก็อปอย่างเดียวโดยไม่มีจริยธรรมหรือความละอายใจอันนั้นก็ไม่น่าให้อภัยครับ

โรงงานหลายแห่งในเมืองไทยโดยเฉพาะถ้วยชามมักทำแบบ OEM คราวนี้พอทำนานๆก็ชักไม่คุ้นกับการพัฒนาตนเอง แต่ถ้าเราพัฒนาจาก OEM ให้เป็น ODM(Original Design Menufacturing) ในที่สุดเราก็จะพัฒนาตนเองจนกลายเป็น OBM ได้ในที่สุด เมื่อเราพัฒนาหรือสร้าง Brand เป็นของตนเองได้นั่นแหละคือความสำเร็จ แต่ถ้ายังรับทำเป็น OEM ไปตลอดสุดท้ายเมื่อลูกค้าตีจากเราก็จะเจ็บ เหมือนโรงถ้วยชามริมตลองระพีพัฒน์ที่ชื่อเสียงโด่งดังยังต้องให้คนงานหยุดงาน ทำงานน้อยลงเพราะทำ OEM เยอะเกินไปครับ

ดังนั้นการที่เราจะแก้ปัญหาเรื่องนี้เราคงต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง คำว่าเทคโนโลยีไม่ใช่หมายถึงเราไปซื้อเขา แต่เราต้องสร้างเอง โรงงานเหล่านี้มีจริงในบ้านเรา แต่ต้องอาศัยวิสัยทัศน์ของผู้บริหารมากๆ ถ้าผู้บริหารยังสั่งให้ก็อปอย่างเดียว สุดท้ายพนักงานก็จะคิดไม่เป็นครับ

  ความคิดเห็นที่ 6 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  23 มิย 52 - 23:00:19  

ตามตัวอย่างที่ผมให้ๆไว้

ถ้าใครสนใจวิธีการผลิต ยินดีแนะนำให้ครับ

จะบอกขั้นตอนต่างๆให้ แล้วทดลองผลิตดู

ถ้าทำได้ และราคาไม่แพงมากผมอาจจะแนะ

นำผู้ซื้อให้ครับ

  ความคิดเห็นที่ 5 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  22 มิย 52 - 17:43:36  

ลักษณะ Spray เคลือบ ทับ เคลือบ

แล้วติดรูปลอก Reactive อีกชั้น

http://th.upload.sanook.com/embed/c23100cdce5fe57b240d03c03bba8e71.jpg

รูปสินค้า White Body Stoneware ติดลายสีสด แล้ว เผา Inglaze เพื่อให้ผ่าน Prop 65

http://th.upload.sanook.com/embed/5f4a41499b91cce36842cccebb9ae0d8.jpg

งานเทคนิก Spray ผสมผสาน ให้ดูครบทุก Item

http://th.upload.sanook.com/embed/f1afe8b886644a4cf75ab6c46a149fe8.jpg

งาน Spray ถ้วย ด้านใน อันนี้ใช้เครืองมือสอง ที่ซื้อจาก Italy มาดัดแปลง ได้กะละ 3000 ใบ

http://th.upload.sanook.com/embed/ae53c78571307d939258ab9291ffc3be.jpg

นี่คืองาน Reactive Decal บน Matte Glaze เพื่อสามารถผลิตให้ได้จำนวนมาก โดยที่เดิมลูกค้าเอาตัวอย่าง

มาให้ดูเป็นงาน แกะที่ผิวโมลด์ แต่เราใช้ Reactive Decal ทำให้ผลิตได้มากขึ้น ของเสียอยู่ในเกณท์ เฉลี่ยไม่เกิน

2-3% ที่ Decoration Firing  

http://th.upload.sanook.com/embed/a5f0518a6779b3c7450e8c735eac56dd.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/5204018dcfe791bc5c8540e3ce263853.JPG

http://th.upload.sanook.com/embed/c27f5309469914422c5a47859d6555fd.JPG

นี่คืองาน Brush Paint

http://th.upload.sanook.com/embed/6891203a28536a0c6ac8d4001a8cfbfc.JPG

นี่คืองาน Reaqctive Glaze Style UK

http://th.upload.sanook.com/embed/b6bffdf7a0b0547e032ccee1d08c8c26.JPG

ทุกแบบจะใช้ เทคนิกเข้าช่วย เพื่อให้งานออกมาแปลก และ ให้ก๊อปได้ยาก

  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  22 มิย 52 - 16:48:22  

ตามรูปที่ให้ดู ใช้เทคนิก Spray ไล่โทน  ผสมผสานกับ

งานเคลือบ Two Tone โดยออกแบบเครื่องให้สามารถ

ไล่โทน แต่ที่จะติดปัญหาคือต้องทำให้ได้เร็วและคุณภาพ

ต้องได้ตามลูกค้ากำหนด ถ้าทำใบสองใบ ทำได้ครับ แต่

ตอนที่ผลิต ลูกค้าต้องการเดือนละ 2-3 แสนชิ้น ซึ่งถ้าเป็น

เคลือบ Two Tone จาน ก็หนักไม่ใช่เล่น ทำไม่ดีอาจจะ

ใช้คนเป็นพัน ดังนั้น ถ้าเราเอาเทคนิกมาคั่นกลางระหว่าง

งานปรกติ ก็จะแก้ปัญหาการ ก๊อปได้ครับ

ผมยังไม่เห็นทำกันนะสำหรับเมืองไทยแต่จีน ก๊อปของเรา

ไปเรียบร้อยหลังจากออกมาได้ประมาณ สัก หนึ่งปี แต่ก็

ไม่ว่ากัน ถ้ามีปัญญา ผมว่าป่านนี้คงเข็ดไปแล้ว หลังจาก

นั้นไม่เห็นจีนผลิตออกมาอีกเลย ทั้งที่ลูกค้าก็ยังต้องการอยู่

แต่ขอปรับเปลี่ยนสี และต้องการ Reactive Decal ประกอบ

ด้วย ลูกค้าที่เคยสั่งคือ Creatable จาก เยอรมัน เขาเห็นแบบ

ตอนเราเอาไปโชว์ที่ FrankFurt Fair

งานก็อบสำหรับจาน ชาม ถ้าง่ายสุดคือรูปทรง

ถ้าก๊อปเคลือบก็อาจจทำได้แต่ของผมที่เคยทำจะเน้น

เอาเทคนิกต่างๆมาประยุกต์ ปรับปรุงการผลิตอยู่เรื่อยๆ

สิ่งที่เราต้องคิดค้นคือ เทคนิกใหม่ในการผลิต

อย่างที่ผมให้ดูเป็นตัวอย่าง ใครจะก๊อปก็ได้ แต่ถ้าทำไม่

เป็น ขาดทุนไม่รู้เรื่องครับ อีกอย่างเครื่องเราพัฒนากันเอง

ไม่มีขายทั่วไป

เป็นหนึ่งในหลายๆแบบที่เรา  หลายๆ สไตล์ที่เราทำกันขึ้นมา

บางอย่างก็ได้ ไอเดียมาจากงานเคลือบของกระเบื้อง บางอย่าง

ได้ ไอเดียมาจากลูกค้าเสนอความต้องการแล้วเราคิดค้นเทคนิกเข้ามา

ใส่

สรุปคือที่ผ่านมา ผมและทีมงาน พัฒนาเน้นการใช้เทคนิกมากกว่าการ

ทำสีเคลือบทั่วไป เน้นTecture ให้ดูแปลก จนป่านนี้ ลักษณะ

Reactive Decal ยังไม่เห็นใครผลิตออกมาแข่งเลยครับ

 

 

  ความคิดเห็นที่ 3 แย่ๆ  |  22 มิย 52 - 15:23:38  

ปัญหามันมีมานาน แต่คงไม่มีทางหมดไป ตอนนี้ของ ที่ราชบุรีไม่รู้เป็นของที่โรงงานไหนทำแล้ว ลำปางเชียงใหม่ก็เหมือนกัน พอสีสดๆเข้ามา ตอนแรกก็ดูเป็นทางเลือกใหม่ แต่พอโรงงานนึ่งทำแล้วขายได้ ตอนนี้ทุกโรงงานก็ทำสีสดๆหมด โรงงานนี้ทำเป็นสีเป็นขั้นๆ อีกโรงงานก็ทำได้เหมือนกัน เก่งเหมือนกัน ขายตัดราคา ฆ่ากันเอง จ้างนักออกแบบมาเพื่อ ทำงานก็อปปี๊ การสนับสนุนไม่มี  ราชการไม่มีลงมาช่วย ช่วยแต่พวกเพื่อนที่มีผลประโยชน์ อนาคตเซรามิกส์ไทย ต้องอยู่ในมือเด็กรุ่นใหม่ รุ่นปัจจุบัน คงไม่มีทางเปลี่ยนแล้ว

หวังว่ามันจะดีขึ้นแต่เพื่อนๆในห้องนี้ ก็คือความหวัง อย่าให้คนที่คิดที่ทำ เริ่มเบื่อ และท้อ ทำมากี่อย่างก็โดนก็อป เราต้องมาช่วยกันพัฒนา อาจารย์น่าจะมีแนวทางแนะนำด้วย

  ความคิดเห็นที่ 2 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  22 มิย 52 - 14:31:38  

อยากให้ดูProduct ที่ผมเคยผลิตแล้วทดลองพิจารณาดูครับ

แล้วจะเล่าที่มาให้ฟัง

http://th.upload.sanook.com/embed/d7baa6f60a7ccfabbea3f311eb0a6079.jpg

 

  ความคิดเห็นที่ 1 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  22 มิย 52 - 14:21:19  

ผมก็เข้ามาหาความรู้จากในนี้บ่อยๆในช่วงหลัง

พบว่า อาจารย์มีความรู้ ความชำนาญในงาน

ผลิตกระเบื้องเป็นอย่างดี

สำหรับผมจะคุ้นกับถ้วย จาน ชาม เพราะเริ่มจับ

งานด้านนี้มาตั้งแต่ปี 29 ก็ได้ความรู้ไปต่อยอด

และต้องยอมรับว่า งานกระเบื้องจะก้าวหน้าในด้าน

Technology  มากกว่าใครในวงการเซรามิกที่เป็นวัสดุ

ที่ใช้งานกับบ้านพักอาศัย

IDEA หลายอย่าง ผมเอาของกระเบื้องมาประยุกต์ใช้

อย่างสม่ำเสมอ ทั้งเครื่องจักรและงานDecorate

แต่ก็ไม่ง่ายนักเพราะ เผากันคนละTemp กับ Process

ที่ผลิตBodyก็คนละแบบ ของถ้วย จาน ชาม ก้เป็นแบบ

Wet Process และ Semi-Wet Process