กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us


บทความ
การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ


โดย รองศาสตราจารย์ ดร. อัคครัตน์ พูลกระจ่าง
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

บทนำ

นับแต่อดีตที่ผ่านมา ประเทศไทยได้พัฒนาระบบการเรียนการสอนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัยอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้นักเรียนนักศึกษาที่จบการศึกษามีความรู้ในด้านวิชาการที่ดีมีมาตรฐาน เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ดังนั้นประเทศไทยจึงใช้ระบบคุณวุฒิทางการศึกษาเป็นสิ่งวัดระดับความสามารถของบุคคลและเป็นสิ่งสำคัญในการจ้างงานทั้งในภาครัฐและเอกชนมาโดยตลอด เมื่อหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนรับผู้จบการศึกษาที่มีความรู้ทางวิชาการเข้ามาทำงานแล้ว ต้องทำการฝึกอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้บุคลากรใหม่มีสมรรถนะที่จะสามารถทำงานให้กับองค์กรได้ต่อไปซึ่งต้องใช้เวลานานและเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมาก แต่หลังจากที่ยุคสมัยได้มีการเปลี่ยนแปลงจนถึงภาวการณ์ในปัจจุบัน ท่ามกลางการแข่งขันที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ภาคธุรกิจต้องปรับตัวเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันทั้งโดยการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้สูงขึ้นโดยเฉพาะการเพิ่มสมรรถนะบุคลากรเดิม ส่วนบุคลากรใหม่ก็ต้องมีความสามารถและสมรรถนะเพียงพอที่จะเริ่มงานได้ในทันทีเช่นเดียวกัน จะมีความรู้แต่ในเชิงวิชาการเช่นเดียวกับในอดีตไม่ได้ ซึ่งในหลายประเทศได้ทำการพัฒนาระบบฐานสมรรถนะบุคคลซึ่งรู้จักกันดีในนาม“ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” มาอย่างต่อเนื่องและบางประเทศได้ประกาศใช้อย่างเป็นทางการแล้วเช่นกัน

นอกจากนั้นจากการที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ได้มีผลอย่างเต็มรูปแบบในปี 2558 ที่ผ่านมา เพื่อให้ประเทศสมาชิกในกลุ่มอาเซียนมีประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกันโดยการเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน ซึ่งจะส่งผลให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานเพื่อทำงานระหว่างประเทศสมาชิกได้ ซึ่งในปัจจุบันยังไม่มีกฎเกณฑ์หรือระบบคุณวุฒิวิชาชีพมารองรับ ดังนั้นจึงเห็นควรดำเนินโครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพในกลุ่มอาชีพต่างๆ เพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน บุคลากรในกลุ่มอาชีพที่เกี่ยวข้องจะสามารถนำไปพัฒนาศักยภาพและสมรรถนะของตนเอง ผู้ประกอบการสามารถจ้างงานได้ตรงกับความต้องการ สถานศึกษาสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอนให้ตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ และจะนำไปสู่การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทยได้ในที่สุด

ความสำคัญของระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

ในโลกของการทำงานที่ไม่เพียงแต่ต้อง ใช้ความรู้แต่ยังต้องใช้ทักษะและความเชี่ยวชาญหลายด้าน ที่เกิดจากการเรียนรู้ด้วยการปฏิบัติงานจริงและการฝึกฝนผู้ประกอบอาชีพทุกคน ทั้งที่มีคุณวุฒิการศึกษาและไม่มี คุณวุฒิการศึกษาในสาขานั้นๆ ล้วนมีศักยภาพในการพัฒนาความสามารถการทำงานด้านต่างๆ ในหน้าที่ของตน ซึ่งการใช้ความรู้ทักษะและความสามารถมาประยุกต์ใช้เพื่อการประกอบอาชีพนี้ เรียกว่า “สมรรถนะ” ซึ่งใน แต่ละสาขาอาชีพอันประกอบด้วย สายงานที่หลากหลายและในแต่ละสายงานต่างมีหลายอาชีพ แต่ละอาชีพจำเป็นต้องมีสมรรถนะหลายด้านเช่นในสาขาที่พักและโรงแรมสายงานการ ต้อนรับอาจประกอบไปด้วยอาชีพต่างๆ ตั้งแต่ผู้จัดการฝ่ายต้อนรับพนักงานต้อนรับพนักงานรับโทรศัพท์พนักงานยก กระเป๋ารวมถึงอาชีพอื่นๆ ซึ่งแต่ละอาชีพมีลักษณะงานในหน้าที่ที่แตกต่างกันออกไปและจำเป็นต้องใช้ สมรรถนะที่หลากหลายในการทำงานในหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ จากการตระหนักถึงความจำเป็นและความสำคัญในการกำหนดยุทธศาสตร์การผลิตและพัฒนา กำลังคน สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีหน้าที่พัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพอันเป็นกลไกสำคัญที่ จะยกระดับความก้าวหน้าและอัตราผลผลิตของกำลังคนในประเทศไทย สถาบันฯได้ร่วมกับ กลุ่มอุตสาหกรรมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการระบุสมรรถนะที่อุตสาหกรรมต้อง การเพื่อจัดทำ “มาตรฐานอาชีพ” อันหมายถึงการกำหนดระดับสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพอีกทั้งยังรับรอง ทักษะและความเชี่ยวชาญ ของบุคคลด้วยการสร้างมาตรฐานในการวัดสมรรถนะเพื่อที่จะรับรอง “คุณวุฒิวิชาชีพ” ซึ่งหมายความว่าการรับรองความรู้ความสามารถและทักษะของบุคคลในการทำงานตาม มาตรฐานอาชีพนั้น โดยคุณวุฒิวิชาชีพนี้จะเป็นประโยชน์โดยตรงต่อกำลังคนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นผู้ที่ ไม่มีคุณวุฒิการศึกษาระดับสูงแต่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการประกอบอาชีพ

รู้จักกับระบบคุณวุฒิวิชาชีพ

“ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” ถูกพัฒนาขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์หลัก เพื่อการรับรอง “สมรรถนะ” ของกำลังคนตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการของภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม “ระบบคุณวุฒิวิชาชีพ” เป็นกระบวนการรับรอง เพื่อให้บุคคลได้รับการยอมรับใน ความรู้ ทักษะ ตลอดจนความสามารถ และได้รับ “คุณวุฒิวิชาชีพ” ที่สอดคล้องกับสมรรถนะประสบการณ์และความรู้ และ ใช้ระบบคุณวุฒิวิชาชีพในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในสายอาชีพของตนในอนาคต โดย “คุณวุฒิวิชาชีพ” สามารถเทียบเคียง และเชื่อมโยงกับระบบคุณวุฒิอื่นๆ ของประเทศได้

กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ

กรอบคุณวุฒิวิชาชีพถูกจัดทำขึ้นเพื่อ เป็นเกณฑ์ในการกำหนดระดับคุณวุฒิวิชาชีพให้สอดคล้องกับระดับสมรรถนะตาม มาตรฐานอาชีพ กรอบคุณวุฒิวิชาชีพในแต่ละระดับจะอธิบายถึงกฎเกณฑ์ความรู้ทักษะและ คุณสมบัติที่พึงประสงค์ขอบเขตความรับผิดชอบผลผลิตที่พึงจะได้จากการปฏิบัติ งานนวัตกรรมและระดับความ ยากง่ายของการทำงานโดยเฉพาะ

กรอบคุณวุฒิวิชาชีพในระดับต้นอาจจะเน้น ให้สามารถปฏิบัติงานได้ตามเกณฑ์การปฏิบัติการ แต่ในระดับคุณวุฒิสูงๆจะสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่หรือวิธีการในการ ทำงานหรือคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ในอาชีพของตนเอง เกณฑ์และคำอธิบายในกรอบคุณวุฒิวิชาชีพจะอธิบายถึงสมรรถนะขอบเขตความรับผิด ชอบผลผลิตที่พึงจะได้จากการปฏิบัติงาน ระดับความยากง่ายของการทำงานและนวัตกรรมที่เป็นกลางไม่เฉพาะเจาะจงอาชีพใด อาชีพหนึ่ง เพื่อยกระดับคุณวุฒิวิชาชีพและการพัฒนากำลังคนของประเทศให้สามารถแข่งขันใน ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียนและระดับสากลได้อย่างมีประสิทธิภาพ กรอบคุณวุฒิวิชาชีพถูกใช้เป็นเครื่องมือหลักในการประเมินและรับรองสมรรถนะ ของบุคคลตามมาตรฐานอาชีพ เพื่อตอบสนองความต้องการทั้งของภาคธุรกิจ และอุตสาหกรรมตลอดจนเป็นกลไกในการเชื่อมโยงเทียบเคียงกับระบบคุณวุฒิการ ศึกษาในระดับประเทศและสากล

กรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ (Thailand Professional Qualification Framework: TPQF) จะมีคำอธิบาย บรรยาย ลักษณะงานในอาชีพ ที่ใช้จำแนก สมรรถนะวิชาชีพ หรือขอบเขตการปฏิบัติงานในอาชีพสำหรับบุคคลๆ หนึ่ง เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในแบ่งระดับตามผลลัพธ์ของงาน ตามผลผลิตที่ต้องการจากผลปฏิบัติ ตามความยากง่ายของงาน ตามความซับซ้อนของงาน ตามขอบเขตความรับผิดชอบต่อผลลัพธ์ของงาน เพื่อให้เห็นแนวทางการพัฒนาตนเองในงานอาชีพ จากระดับเริ่มต้น ไปสู่ระดับสูงสุดของงานอาชีพ โดยกำหนดให้เป็นคุณวุฒิตามสมรรถนะวิชาชีพ เรียกว่า คุณวุฒิวิชาชีพ ดังภาพที่ 1


ภาพที่ 1 กรอบคุณวุฒิวิชาชีพ
(ที่มา : สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ)

มาตรฐานอาชีพ

“มาตรฐานอาชีพ” หมายความว่า การกำหนดระดับสมรรถนะของบุคคลในการประกอบอาชีพ โครงการจัดทำมาตรฐานอาชีพ พร้อมทั้งพัฒนาระบบการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ มีการดำเนินงานในการศึกษาวิจัยและพัฒนาระบบคุณวุฒิวิชาชีพ รวมทั้ง ส่งเสริม สนับสนุนกลุ่มอาชีพหรือกลุ่มวิชาชีพในการจัดทำมาตรฐานอาชีพ กล่าวคือ ต้องการที่จะให้การรับรอง ความรู้ ความเชี่ยวชาญและทักษะทางด้านวิชาชีพ โดยกำหนดระดับสมรรถนะของบุคคลให้เป็นมาตรฐาน สากล เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันประเทศ

การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาวิชาชีพเซรามิกและเครื่องเคลือบ

1) ขอบเขตของสายงาน
ขอบเขตของสายงานที่มีการจัดทำมาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขา อุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ มี 4 สายงาน ได้แก่
1.1 ผลิตกระเบื้องเซรามิก
1.2 ผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก
1.3 ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
1.4 ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า

2) เทคนิคการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพ
เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงหน้าที่ (Functional Analysis—FA) ดังภาพที่ 2



ภาพที่ 2 การวิเคราะห์เชิงหน้าที่งาน

3) กระบวนการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพ

กระบวนการวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพของทั้ง 4 สายงาน นั้นยึดหลักกระบวนการผลิตเซรามิก ดังภาพที่ 3


ภาพที่ 3 การวิเคราะห์สมรรถนะอาชีพโดยอ้างอิงกระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

4) สรุปการพัฒนามาตรฐานอาชีพ

ความมุ่งหมายหลัก บทบาทหลัก หน้าที่หลัก หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย เกณฑ์การปฏิบัติงาน
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานในระดับสากล ผลิตกระเบื้องเซรามิก 7 24 75 224
ผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก 7 24 71 189
ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 7 30 105 349
ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า 7 26 78 241
รวม 28 104 329 1,003

 

ตัวอย่าง การจัดทำมาตรฐานอาชีพสาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

ความมุ่งหมายหลัก Key Purpose บทบาทหลัก Key Roles หน้าที่หลัก Key Function
คำอธิบาย รหัส คำอธิบาย รหัส คำอธิบาย
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกอุตสาหกรรม
ให้มีมาตรฐานในระดับสากล
0 1 ผลิตกระเบื้องเซรามิก 0 1 1 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก
0 1 2 จัดทำวัตถุดิบสำหรับผลิตกระเบื้องเซรามิก
0 1 3 ขึ้นรูปชิ้นงานกระเบื้องเซรามิก
0 1 4 ตกแต่งชิ้นงานกระเบื้องเซรามิก
0 1 5 เผาชิ้นงานกระเบื้องเซรามิก
0 1 6 ตรวจสอบและบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก
0 1 7 บริหารจัดการในงานผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
0 2 ผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก 0 2 1 ออกแบบและพัฒนาสุขภัณฑ์เซรามิก
0 2 2 ผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก
0 2 3 ขึ้นรูปชิ้นงานสุขภัณฑ์เซรามิก
0 2 4 เคลือบสุขภัณฑ์เซรามิก
0 2 5 เผาสุขภัณฑ์เซรามิก
0 2 6 ตรวจสอบและบรรจุหีบห่อสุขภัณฑ์เซรามิก
0 2 7 บริหารจัดการในงานผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
0 3 ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 0 3 1 เตรียมวัตถุดิบน้ำดินผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก
0 3 2 ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
0 3 3 ผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
0 3 4 ขึ้นรูปชิ้นงานผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
0 3 5 ตกแต่งผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
0 3 6 เผาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
0 3 7 ตรวจสอบและบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
0 4 ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า 0 4 1 ออกแบบผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า
0 4 2 ผลิตวัตถุดิบสำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
0 4 3 ขึ้นรูปชิ้นงานลูกถ้วยไฟฟ้า
0 4 4 ตกแต่งชิ้นงานลูกถ้วยไฟฟ้า
0 4 5 เผาและประกอบชิ้นงานลูกถ้วย
0 4 6 ตรวจสอบและบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า
0 4 7 บริหารจัดการในอุตสาหกรรมเซรามิก

 

5) การกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

ในการกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ โดยกำหนดตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพ (Professional Qualification Framework) ที่สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพเป็นผู้กำหนด โดยสรุปได้ดังนี้

ความมุ่งหมายหลัก บทบาทหลัก จำนวนคุณวุฒิ ระดับคุณวุฒิ
ผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกอุตสาหกรรมให้มีมาตรฐานในระดับสากล ผลิตกระเบื้องเซรามิก 11 2-6
ผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก 11 2-6
ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 12 2-6
ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า 12 2-6
รวม 46

 

ตัวอย่าง การกำหนดคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ

1. สายงานผลิตกระเบื้องเซรามิก

ระดับคุณวุฒิ คุณวุฒิวิชาชีพ
ชั้น 2 1. อาชีพผู้ปฏิบัติงานขึ้นรูปชิ้นงานกระเบื้องเซรามิก
2. อาชีพผู้ปฏิบัติงานเคลือบและตกแต่งชิ้นงานกระเบื้องเซรามิก
3. อาชีพผู้ปฏิบัติงานจัดการบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิก
ชั้น 3 4. อาชีพผู้ปฏิบัติงานจัดเตรียมวัตถุดิบเพื่อผลิตกระเบื้องเซรามิก
5. อาชีพผู้ปฏิบัติงานเผาชิ้นงานกระเบื้องเซรามิก
6. อาชีพผู้ตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซามิก
ชั้น 4 7. อาชีพนักพัฒนาผลิตภัณฑ์กระเบื้องเซรามิกต้นแบบ
8. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
ชั้น 5 9. อาชีพนักจัดซื้อวัตถุดิบ อุปกรณ์ สำหรับผลิตกระเบื้องเซรามิก
10. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
ชั้น 6 11. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

 

2. สายงานผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก

ระดับคุณวุฒิ คุณวุฒิวิชาชีพ
ชั้น 2 1. อาชีพผู้ปฏิบัติงานเตรียมวัตถุดิบผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก
2. อาชีพผู้ปฏิบัติงานผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก
3. อาชีพผู้ปฏิบัติงานตกแต่งและเคลือบสุขภัณฑ์เซรามิก
4. อาชีพผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์
ชั้น 3 5. อาชีพนักออกแบบผลิตภัณฑ์
6. อาชีพผู้ปฏิบัติงานเตาเผาสุขภัณฑ์เซรามิก
7. อาชีพผู้ปฏิบัติงานบรรจุสุขภัณฑ์เซรามิก
ชั้น 4 8. อาชีพนักจัดซื้อวัตถุดิบสำหรับสุขภัณฑ์สุขภัณฑ์เซรามิก
9. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรม
ชั้น 5 10. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรม
ชั้น 6 11. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรม

 

3. สายงานผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร

ระดับคุณวุฒิ คุณวุฒิวิชาชีพ
ชั้น 2 1. อาชีพผู้ปฏิบัติงานเตรียมวัตถุดิบสำหรับผลิตชิ้นงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
2. อาชีพผู้ปฏิบัติงานหล่อขึ้นรูปและอบแห้งชิ้นงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
ชั้น 3 3. อาชีพผู้ปฏิบัติงานขึ้นรูปชิ้นงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารด้วยเครื่องจักร
4. อาชีพผู้ปฏิบัติงานตกแต่งและเคลือบชิ้นงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
5. อาชีพผู้ควบคุมการเผาชิ้นงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
6. อาชีพผู้ปฏิบัติงานตรวจสอบคุณภาพผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
7. อาชีพผู้ปฏิบัติงานบรรจุหีบห่อผลิตภัณฑ์เครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
ชั้น 4 8. อาชีพนักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
9. อาชีพนักจัดซื้อวัตถุดิบสำหรับผลิตชิ้นงานเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร
10.อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
ชั้น 5 11. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
ชั้น 6 12. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

 

4. สายงานผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า

ระดับคุณวุฒิ คุณวุฒิวิชาชีพ
ชั้น 2 1. อาชีพผู้ปฏิบัติการเตรียมเนื้อดินและน้ำเคลือบสำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
2. อาชีพผู้ปฏิบัติการขึ้นรูปสำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
3. อาชีพผู้ปฏิบัติการตกแต่งและเคลือบชิ้นงานสำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
ชั้น 3 4. อาชีพผู้ปฏิบัติการเตาเผาสำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
5. สาขาอาชีพผู้ปฏิบัติการตรวจสอบผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์สำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
ชั้น 4 6. อาชีพนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า
7. อาชีพผู้ปฏิบัติการตรวจสอบวัตถุดิบสำหรับผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า
8. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
ชั้น 5 9. อาชีพนักวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ลูกถ้วยไฟฟ้า
10.อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก
ชั้น 6 11. อาชีพผู้บริหารการผลิตในอุตสาหกรรมเซรามิก

 

บทสรุป

ในการการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ ประกอบด้วยบทบาทหลัก (Key Role) หน้าที่หลัก (Key Function) หน่วยสมรรถนะ (Unit of Competence) สมรรถนะย่อย (Element of Competence) เกณฑ์การปฏิบัติงาน (Performance Criteria) จำนวนคุณวุฒิตามกรอบคุณวุฒิวิชาชีพแห่งชาติ 7 ชั้น และจำนวนข้อสอบความรู้ทฤษฎีซึ่งออกตามเกณฑ์การปฏิบัติงาน

สรุปภาพรวมสมรรถนะอาชีพ
บทบาทหลัก หน้าที่หลัก หน่วยสมรรถนะ สมรรถนะย่อย เกณฑ์การปฎิบัติงาน จำนวนคุณวุฒิ
ผลิตกระเบื้องเซรามิก 7 24 75 224 11
ผลิตสุขภัณฑ์เซรามิก 7 24 71 189 11
ผลิตเครื่องใช้บนโต๊ะอาหาร 7 30 105 349 12
ผลิตลูกถ้วยไฟฟ้า 7 26 78 241 12
รวม 28 104 329 1,003 46
ครอบคลุมคุณวุฒิวิชาชีพ จำนวน 38 สาขาอาชีพ

 

การพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบ เป็นจุดเริ่มต้นในการพัฒนาคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศ ซึ่งการวิเคราะห์สมรรถนะเป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากองค์ประกอบของสมรรถนะ ประกอบกันเข้าอย่างแนบแน่นทั้ง 3 ด้าน คือ ทักษะในการทำงานให้บรรลุ, ความรู้ที่จำเป็นสำหรับการปฏิบัติงานนั้นหรือความรู้ความเข้าใจงานที่ทำ, และ กิจนิสัยหรือเจตคติในการทำงานซึ่งทำให้เกิดประสิทธิผลและประสิทธิภาพ ในการพัฒนามาตรฐานอาชีพและคุณวุฒิวิชาชีพ สาขาอุตสาหกรรมเซรามิกและเครื่องเคลือบในครั้งนี้จึงเป็นการยกระดับความสามารถของบุคลากรในอาชีพในมีสมรรถนะสูงขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของมนุษย์ในประเทศให้ทันต่อการแข่งขันกับนานาประเทศได้ต่อไป
Copyright © 2008 All rights reserved. Report problems