กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
Heating microscope

Heating microscope สำหรับ Softening point ของเคลือบ
ดร. คชินท์ สายอินทวงศ์

ในกระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์เซรามิกนั้น ขั้นตอนในช่วงการเผาจะเป็นช่วงที่มีการเกิดปฏิกิริยาของทั้งเนื้อดินและเคลือบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผลิตภัณฑ์ที่เผาครั้งเดียวเช่น กระเบื้องปูพื้น, กระเบื้องบุผนังแบบ Monoporosa, ลูกถ้วยไฟฟ้า, สุขภัณฑ์, กระถางเคลือบสี, กระเบื้องหลังคาเซรามิก เนื่องจากมีการสลายตัวของน้ำในโครงสร้างผลึกของดินและทัลคัม มีการสลายตัวของพวกคาร์บอเนตในหินปูน โดโลไมท์ แมกนีไซท์ รวมทั้งมีการสลายตัวของสารอินทรีย์ในเนื้อดินและสารเคมีที่มีการเติมลงไปในเนื้อดินเพื่อปรับปรุงคุณภาพ ซึ่งอุณหภูมิในการสลายตัวของวัตถุดิบแต่ละชนิดมีค่าที่แตกต่างกันไปตามตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงอุณหภูมิของการสลายตัวของวัตถุดิบชนิดต่างๆ
วัตถุดิบ อุณหภูมิในการสลายตัว (°C) PRODUCT LOSS (WT%)
ALUMINA HYDRATE 250 Al2O3 35
CLAY 500-650 METAKAOLIN 14
DOLOMITE 900 CaO, MgO 48
WHITING 700 - 800 CaO 44
TALC 1,000 MgSiO3 7
STROTIUM CABONATE 1,200 - 1,300 SrO 30
BARIUM CABONATE 1,300 - 1,400 BaO 22


ถ้าเราไม่ระวังในขั้นตอนการเผา ผลิตภัณฑ์หลังเผาอาจพบปัญหารูพรุน (Pin hole) รูลึก (Blister) ผิวเคลือบยิบ (Pitting) หรือมีลักษณะคล้ายเปลือกส้มหรือเปลือกไข่ (Orange peel, Egg shell) เนื่องจากขณะที่เนื้อดินมีการสลายตัวของสารอินทรีย์ น้ำ หรือคาร์บอเนต ในช่วงอุณหภูมิสูงกว่า 650 °C ผิวเคลือบกำลังจะเริ่มหลอมตัวเป็นเนื้อแก้ว ซึ่งในขณะที่เคลือบเริ่มหลอมตัวชั้นเคลือบซึ่งก็คือแก้วนี้จะมีความหนืดค่อนข้างสูงทำให้พวกกาซต่างๆที่ถูกไล่ออกมาจากเนื้อดินจะแทรกผ่านชั้นเคลือบได้ยากขึ้นถ้าช่วงของการเผาในช่วงนี้เร็วจนเกินไปก็จะทำให้กาซต่างๆยังคงอยู่ในชั้นเคลือบและเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นกาซก็จะมีการขยายตัวมากขึ้นและลอยขึ้นมาที่ผิวเคลือบ ถ้ากาซเหล่านี้ออกไปจากเนื้อเคลือบได้ทันก่อนที่เคลือบจะหลอมตัวก็จะไม่มีปัญหาอะไร แต่ถ้าออกไปช้ากว่าหรือพอดีกับที่เคลือบเลยจากจุดหลอมและเริ่มเย็นตัวจนเป็นชั้นแก้วแข็งแล้วก็จะทำให้เกิดปัญหารูชนิดต่างๆปรากฏอยู่ที่ผิวของเคลือบ ยิ่งถ้าเคลือบมีค่าแรงตึงผิวสูงด้วยก็จะยิ่งทำให้ฟองอากาศออกไปได้ยากยิ่งขึ้น

อุณหภูมิที่เคลือบเริ่มมีการหลอมตัวจะเรียกว่าจุดอ่อนตัว (Softening point) ซึ่งจุดนี้จะมีความสำคัญมากสำหรับนักเซรามิกในการกำหนดสูตรเนื้อดิน สูตรเคลือบ และตารางการเผาผลิตภัณฑ์

การหาค่า Softening point ของเคลือบจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Heating microscope ซึ่งเครื่องมือนี้จะประกอบไปด้วย Chamber สำหรับการเผาและมีกล้องสำหรับดูลักษณะของชิ้นงาน โดยจะมีกล้องสำหรับถ่ายรูปชิ้นงานที่อุณหภูมิต่างๆตั้งแต่ช่วงก่อนการหลอมตัวจนกระทั่งจุดสุดท้ายของการหลอม โดยจะมีการกำหนดจุดที่สำคัญที่จะอ่านค่าคือ Sintering point, Softening point, Ball point(Sphere), Haft ball point(Haft sphere), Fusion point สีเคลือบหรือฟริตที่เตรียมสำหรับการหาค่า Softening point นี้จะถูกบดให้ละเอียดตามค่าความละเอียดที่ควบคุมใน Specของการผลิตของแต่ละโรงงาน แล้วนำมาอบแห้งและเตรียมเป็นลูกเต๋าขนาดเล็กโดยวางอยู่บนแผ่นอลูมิน่าแบบบางที่ขึ้นรูปแบบ Tape casting จากนั้นจึงนำเข้าไปวางไว้ใน Chamber และเริ่มให้ความร้อน จากนั้นจะต้องคอยเฝ้าดูลักษณะของชิ้นงานผ่านทางจอคอมพิวเตอร์เพื่อดูว่าลักษณะของลูกเต๋าเปลี่ยนไปอย่างไร โดยจุดที่เริ่มสังเกตจุดแรกคือจุด Sintering ซึ่งเป็นจุดที่ชิ้นงานเริ่มมีการหดตัว (ดูภาพที่5-9 ประกอบตาม) ให้จดอุณหภูมิที่อ่านได้เอาไว้ จุดต่อมาคือจุด Softening ซึ่งเป็นจุดที่ลูกเต๋าเริ่มลบมุมจนมีความมน บันทึกค่าอุณหภูมิไว้ หลังจากนั้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นชิ้นงานเริ่มมีความเป็นแก้วมากขึ้นจะมีแรงตึงผิวสูงขึ้นจนทำให้ชิ้นงานเปลี่ยนรูปทรงจากลูกเต๋าไปเป็นลูกทรงกลมซึ่งเรียกจุดนี้ว่า Ball point หรือ Sphere point ต่อจากนั้นเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้นอีก เคลือบเริ่มหลอมตัวมากขึ้นจนลูกทรงกลมเริ่มอ่อนตัวเป็นรูปครึ่งทรงกลม เรียกว่าจุด Haft ball หรือ Haft sphere สุดท้ายเมื่อเคลือบได้รับความร้อนจนถึงจุดหลอมเหลวก็จะเริ่มหลอมจนกระทั่งแบนราบไปกับแผ่นรองซึ่งเรียกว่าจุด Fusion ซึ่งเป็นจุดสุดท้ายที่จะทำการจดบันทึกผล

>
ภาพที่1 เครื่อง Heating microscope ภาพที่2 กล้องถ่ายรูปที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
ภาพที่3 เครื่อง Optical dilatometer
ภาพที่4 ตัวอย่างชิ้นงานที่ใช้สำหรับ Heating microscope
ภาพที่5 Sintering point ภาพที่6 Softening point
ภาพที่7 Ball point ภาพที่8 Haft ball point
ภาพที่9 Fusion point
ภาพที่10 แสดงจุดต่างๆที่ถ่ายได้จาก Heating microscope
ตารางแสดงองค์ประกอบของออกไซด์ในฟริตแต่ละชนิดที่มีค่า Softening point ต่างๆกัน
FRIT SiO2 ZrO2 B2O3 Al2O3 MgO CaO ZnO Alcali
High softening opaque 56 7 4 5 5 10 10 4
High softening transparent 55 0 5 10 5 10 10 4
Single fire opaque 60 10 12 5 0 5 2 4
Single fire transparent 65 0 12 7 0 5 2 6

สำหรับฟริตที่นำมาใช้งานในเคลือบก็จะมีค่า Softening point ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับองค์ประกอบทางเคมีของฟริตแต่ละชนิดเช่น ฟริตทึบแสงที่มีSoftening point สูง (High softening point opaque-HSO) จะมีค่าของCaO, MgO และ ZnO มากกว่าฟริตที่เป็น Single fire opaque frit-SFO) เช่นเดียวกับฟริตใสที่มี Softening point สูง (High softening transparent-HST) ที่มัค่า CaO,MgO และ ZnO สูงเช่นกัน จากกราฟจะเห็นว่าฟริตที่มี Softening point สูงจะอ่อนตัวที่อุณหภูมิสูงซึ่งเป็นจุดที่น่าปลอดภัยสำหรับการเผาและช่วงความแตกต่างของอุณหภูมิที่ Softening point กับ Fusion point จะไม่แตกต่างกันมากเมื่อเทียบกับฟริตที่มี Softening point ต่ำ

ภาพที่ 11 แสดงตำหนิรูลึกที่เกิดมาจากเนื้อดิน
ในกรณีที่เราพบปัญหารูเข็มหรือรูยิบบนผิวเคลือบมากแนวทางที่จะลดปัญหาเหล่านี้ได้นอกเหนือจากการปรับเตาหรือปรับสูตรเนื้อดินก็คือการปรับค่า Softening point ของเคลือบเพื่อให้สิ่งที่เราไม่ต้องการในเนื้อดินได้ถูกไล่ออกมาให้หมดก่อนที่เคลือบจะเริ่มอ่อนตัวปิดผิวเนื้อดิน ดังนั้นการที่เราต้องการที่จะปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์และปรับปรุง%เกรด A ของการผลิตให้สูงขึ้นก็ควรจะต้องทำการศึกษาและทำความรู้จักเคลือบของเราให้ละเอียดขึ้นด้วยครับโดยเฉพาะเรื่อง Softening point ของเคลือบของเรา