กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: การทำเคลือบสี
Bome'  |  14 พค 52 - 16:28:45  

เรียน ดร.คชินท์

   ในการทำเคลือบสี  มีขั้นตอนการผลิตที่ถูกต้องเหมาะสมอย่างไรคะ และมีขั้นตอนไหนที่ควรต้องระวังหรือให้ความสำคัญเป็นพิเศษบ้าง

ขอบคุณค่ะ

 

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 2 คน Patra มาเยี่ยม  |  15 มิย 52 - 10:21:41  

เคลือบสี (ขอพูดเฉพาะ ถ้วย จาน ชาม เผาด้วย บรรญากาศ Oxidation)

ประกอบด้วย Base Glaze +ตัวทำให้เกิดสี เช่น  Stain หรือ Oxide

Base Glaze แบ่งออกได้เป็น สอง กลุ่ม

Clear Glaze ถ้าต้องการให้สีเคลือบหลังเผาดูแล้วออกใส

Opec Glaze ถ้าต้องการให้สีเคลือบออกแนวขุ่นหรือทึบ

สีส่วนมากถ้าทำการผลิตแบบ Comercial จะใช้ Stain

เป็นหลัง เพราะควบคุมการเผาได้ง่ายกว่า Oxide แต่ราคา

จะแพงกว่า

สำหรับ Oxide ราคาจะถูกกว่า แต่ข้อเสีย ควบคุมการผลิตเพือ

ให้ได้ Shade สี ออกมาเหมือนๆกันจะทำได้ยากมาก โดยเฉพาะ

กับงาน Tableware ที่มีรูปทรง 3 มิติ และด้วยเหตุที่การไวต่อ

อุณหภูมิการเผา จึงไม่เหมาะผลิตเพื่อเป็นสินค้าที่ต้องส่งเป้นชุด มี

acessories หลายรายการ เช่นต้องมีทั้ง จาน ชาม ถ้วยกาแฟ

กาน้ำชา เหล่านี้จะใช้ มาตรฐานการผลิตตัวเดียวกันไม่ได้ ดังนั้น

Oxide จึงเหมาะกับงานแนว Art มากกว่าจะใช้ใน Daily Use

Ceramic

ในโลกนี้มีเพียงไม่กี่รายที่ผลิตสินค้า แนว Art Glaze ลงบนถ้วย

จาน ชาม ยกตัวอย่างเช่น

Denby Pottery UK

http://www.denby.co.uk

Friesland  Germany

เคยเข้าไปดูการผลิตของ Denby ที่ UK ของเขาหนึ่งสี เขาจะแบ่งกลุ่ม

ได้ถึง 10 กลุ่ม หมายถึง สีเดียวกัน มีถึง 10 Shade

ราคาตกใบละประมาณ 400-500 บาท หัวใจของงานเผา เคลือบ

Oxide และต้องการควบคุม Shade แบบ denby ต้องมีเทคนิก

การเคลือบที่ต่างจากปรกติที่ใช้ และที่สำคัญ เตาเผาต้องมีการจัดการ

การเรียง การปรับอุณหภูมิ แตกต่างจากสีปรกติในบางส่วน

 

 

 

 

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  18 พค 52 - 19:18:06  

หมายถึงการบดเคลือบใช่ไหมครับ ขั้นตอนที่สำคัญที่สุดคือการตรวจรับวัตถุดิบที่จะนำมาใช้งาน โดยเราต้องดูว่าวัตถุประสงค์ที่จะใช้งานของวัตถุดิบนั้นๆคืออะไรและการผลิตของผู้ขายเป็นอย่างไรเราจะได้ตรวจรับได้ตรงตามที่เราต้องการ อย่าตรวจรับและกำหนดสเปคจากผู้ขาย แต่ต้องกำหนดเพื่อเรา หลังจากตรวจรับดีแล้วก็มาถึงการชั่งวัตถุดิบ(ในกรณีที่มีสูตรที่ดีแล้ว) หลังจากนั้นก็ใส่เข้าไปในหม้อบดขั้นตอนนี้ต้องดูเรื่องการเติม additive  ซึ่งบางตัวไม่ควรเติมพร้อมการบดควรไปเติมทีหลังเช่น CMC สารกันบูด เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด

ในขั้นตอนการบด การควบคุมรอบในการบด ระดับลูกบด ปริมาณการเติมวัตถุดิบและน้ำ หาอ่านได้ในเวปนี้ครับ หลังจากบดแล้วก็ถึงการตรวจเช็ค %Residue ควรเช็คด้วยตะแกรง 325 เมชจะดีกว่า 230 เมช ถ้ามีการบดเคลือบสูตรเดียวกันแต่ใช้หม้อบดหลายขนาดควรเช็คค่า Particle size distribution ด้วย หลังจากเช็คความละเอียดแล้วก็ถ่ายผ่านแม่เหล็กไฟฟ้าหรือแม่เหล็กถาวร แล้วจึงผ่านตะแกรงสั่น แนะนำให้มีความละเอียดมากกว่า 120 เมช ถ้าละเอียดมากกว่านั้นแล้วยังกรองได้ก็ยิ่งดี มีโรงสุขภัณฑ์และกระเบื้องบางที่กรอง 180 เมชเลยครับ

เมื่อกรองแล้วเก็บตัวอย่างไปทำ Firing test โดยจะใช้การจุ่ม การสเปรย์ การลากเคลือบก็ได้ โดยดูเฉดสี ผิวหน้า ตำหนิที่เกิด ระยะเวลาการแห้งตัว เช็คความถ่วงจำเพาะ ความหนืด ค่า Thixotropy yield point(ถ้ามีเครื่องที่วัดได้) ดูการไหลตัวที่อุณหภูมิสูงโดยใช้การตั้งเผาแบบเอียง ดูค่า Softening point, COE

หลังจากนั้นaging ไว้สักหนึ่งวันแล้วจึงนำไปใช้ ก่อนใช้จะปั่น CMC เติมลงไปก็สามารถทำได้ในตอนนี้ครับ