กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: การวางแผนการผลิตทำอย่างไรถึงจะมีประสิทธิภาพที่สุด
ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  18 มิย 52 - 23:15:12  

หลายโรงงาน กำลังค้นหาแนวทางการวางแผน

ให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด บางโรงงานถึงกับ

ลงทุนใช้โปรแกรม SAPมาแก้ปัญหา มาเสริม

การผลิต

ถ้าถามผมว่า โปรแกรมอะไรดีที่สุด ผมเคยเล่นมาทั้ง

ทั้ง MRP และ SAP  ตอบว่า บริษัทลงทุนจ่ายเงิน

เกือบสิบสี่ล้าน สำหรับ SAPและ 5 ล้านสำหรับ

MRP ผลสรุป คือ ผิดหวัง ใช้ได้แค่ 20% ที่เหลือ

ต้องหันกลับมาพึ่ง Excel กับโปรแกรมที่เขียนกันขึ้น

มาเอง

 ดังนัน ใครที่คิดจะลงทุน เตือนว่าให้คิดให้รอบคอบ

ว่ามันจะเป็นยาวิเศษมาแก้ไขปัญหาที่เรากำลังเผชิญ

ได้หรือไม่ ถ้าได้ แค่ไหนที่เราจะยอมรับได้

 สำหรับโรงงาน แถวโป่งแร้ง สรุปกันไปแล้วว่า มันใช้

กับ ระบบ Store กับ บัญชีได้ดีพอควร แต่คิดจะเอามาใช้

วางแผนผลิต ระวังตัวเลขจะหลอกจนส่งของไม่ได้

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 10 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 09:14:08  

และให้ถ้าจะ Mornitor ตัวเราเองว่า เรามีปัญหากับการวางแผน

มากน้อยแค่ไหนให้ดูดังนี้

1) WIP มีมากเกินคามต้องการ และเกิด Over Run เกินความต้องการ

    มากมาย ซึ่งปรกติ Over Run จะต้องไม่เกิน 10% ของความต้องการ

2) Line ไม่ Balance อยู่ตลอดเวลา ผลิตสินค้าออกมาแล้ว ไม่สามารถ

    บรรจุได้ เกิดการอคอยจนเลย Due Date เกิน 60% ซึ่งปรกติไม่ควรเกิน

    10% ( ผลกล่าวถึงฌฉพาะธุรกิจถ้วย จาน ชาม )

3) เคยให้ตัวเลขจำนวน STOCK ของ WIP ยกตัวอย่างเช่น BISCUIT ไม่ควร

    STOCK เกิน 15 วัน สำหรับ โรงงานที่ผลิตสินค้าแบบ หลากหลาย ยกเว้นโรงงาน

   ที่ผลิตสินค้าแบบเดียว หรือ สองสามแบบ พวกนี้สามารถ Stock ได้มากกว่านี้ ถ้า

   เงินหนาพอที่จะเอาเงินมากองให้ฝุ่นจับ และเสี่ยงต่อการแตกเสียหาย

  สามเรื่องหลักๆ คือการประเมินเบื้องต้นว่า เรามีปัญหากับระบบวางแผนของเราหรือไม่

  

  ความคิดเห็นที่ 9 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 09:04:35  

ดังนั้น จึงกล่าวโดยสรุปว่า

การวางแผนการผลิต ยังมีความจำเป็นและเป็น KEY

OF SUCCESS ตัวหนึ่งของธุรกิจ

     ต้องการระบบที่สร้างความแม่นยำให้กับทั้งระบบการบริหาร

ธุรกิจ และระบบบริหารสายการผลิต แต่ผมยังต้องการพูดให้ชัด

กับโรงงานที่เงินทุนน้อย ให้ควรมองที่ธุรกิจของตัวเองว่าเรามีพื้นฐาน

ของระบบข้อมูลเป็นอย่างไร และการพํฒนาระบบข้อมูลไม่จำเป็นต้อง

เอาระบบที่มีชื่อเสียงมาใช้ แต่เราศึกษาได้แล้วนำแก่นของมันมา

ประยุกต์ใช้ และขอเสนอจากประสบการณ์ว่า EXCEL ก็คือโปรแกรม

การคำนวน จัดหมวดหมู่ข้อมูล ค้นหาข้อมูล วิเคระห์ข้อมูล ซึ่งเราไม่ต้อง

ใช้การลงทุนอะไรมากมาย และถ้าใช้ประกอบกับ Access ซึ่งมีคุณสมบัติ

ในการเชื่อมโยงข้อมูล ค้นหา บันทึก เพียงแค่นี้ เราก็สามารถพัฒนาองค์การเรา

ให้มีความทัดเทียมกับโรงงานระดับโลกได้

  ความคิดเห็นที่ 8 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  25 มิย 52 - 08:47:15  

และทำไม Patra ถึงลงทุน 17-20  ล้าน ในการนำ SAP เข้ามาใช้

บริหารจัดการกับข้อมูลของ องค์กร

มีสาเหตุหลักสองประการ

1) ฝ่ายเจ้าของกิจการต้องการปรับสภาพธุรกิจของตัวเองไปสู่สากลมากยิ่งขึ้น

    ทั้งที่ ภัทราฯ ได้รับ มอก ผลิตภันท์ถ้วย จาย ชาม เซรามิกเป็นโรงแรกในประเทศไทย

    ภัทรา ได้รับ ISO 9002 ในช่วงปี 2542-43 เรียกได้ว่าเป็นโรงแรกของประเทศ

    ไทย แต่ก็ยังมีเรื่องของ ระบบบริหารข้อมูลที่เรายังใช้ระบบของเราเองซึ่งเป็นรูปผสม

    ระหว่าง MRP กับระบบที่เราพัฒนาขึ้นมาโดยทีมงาน MIS ซึ่งก็ตอบสนองความต้องการ

    ทั้งสายงานผลิต บัญชี และ ฝ่ายบริหารระดับสูงได้ดี สามารถบริหารข้อมูล และรู้ความเคลื่อน

    ไหวในการผลิตได้เทียบเท่าสายการผลิต แต่ฝ่ายเจ้าของกิจการก็ยังต้องการระบบที่เป็นสากล

    ทียอมรับกันในวงกว้าง เพื่อความมั่นใจในการการบริหารจัดการข้อมูลต่างๆซึ่งเข้าใจว่าอาจจะ

     แม่นยำกว่าที่เป็นอยู่

2) เป็นความต้องการของบรรดาบริษัท ที่ต้องการเข้ามาลงทุนร่วม ซึ่งต้องการระบบที่สากลยอมรับ

    และสามารถ Mornitor ตัวเลขต่างๆ แม้แต่อยู่ต่างประเทศหรืออยู่ต่างที่กับโรงงาน ซึ่งเดิมเราก็

   มีการเชื่อมโยงข้อมุลระหว่างกทม กับ สระบุรี ผ่าน Internet แต่ก็ยังอยากจะมองเห็นทั้งระบบ

   ซึ่ง SAP กับ Oracle ต่างก็สามารถ Support ได้ และในที่สุดเราก็เลือกใช้ SAPมาเป็นระบบ

   ฐานข้อมูล จัดการข้อมูลการผลิต การตลาด ADMIN

   นี่คือสาเหตุหลักที่เราจำต้องเอาระบบ SAP เข้ามาสู่ Patra ซึ่งเป็นโจทย์ที่ยากที่จะปฎฺเสธในการ

  นำมาใช้ ทั้งที่ประเมินแล้วว่า จะสร้างปัญหาในเรื่องระบบบานข้อมูลหลายอย่างให้กับฝ่ายปฎิบัติการ

 

  ความคิดเห็นที่ 7 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  24 มิย 52 - 17:59:41  

ดังนั้น สิ่งที่ผมต้องการสื่อออกไปก็คือ

ผมเห็นหลายโรงงานกำลังนำระบบ

การวางแผนผลิตเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพมาใช้

นั่นคือสิ่งที่ดี และน่าสนับสนุน เพราะจากปี 27

ถึงปัจจุบัน เป็นเพราะระบบการบริหารข้อมุลที่ดี

ทำให้โรงงานสามารถบรรลุเป้าหมายได้และอยู่รอด

ในสภาวะวิกฤตได้ หมายถึงคือKey ตัวหนึ่งของ

ความสำเร็จ แต่ สิ่งที่ผมต้องการสะกิดให้ทราบคือ

ถ้าจะใช้ระบบเหล่านี้ ต้องศึกษาดูให้ดีว่า SAP คือ

อะไร เข้ามาอยู่กับเราได้ดีมากน้อยเพียงไรต้องประเมิน

บางอย่างทำได้อย่างที่เราต้องการไหม

และถ้าต้องการให้เป็นแบบที่ต้องการเป๊ะๆ เราต้องจ่าย

เท่าไร ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย ทำได้ แต่คุณต้องมีค่าใช้จ่าย

นี่คือคำตอบที่ได้รับเสมอจากผู้ที่ทำหน้าที่เรียกว่า RBAB

คือคนพัฒนาโปรแกรมจากโปรแกรมพื้นฐานของSAPอีกที

แล้วผลที่ได้รับจะคุ้มกันไหม กับเราหาแนวทางอื่น

ผมกลับมองเห้นประโยชน์ของ Exel ในหลายกรณี

และ SAP ก้ใช้หลักการของ Exel และ Access มา

ผูกโยง

ดังนั้น นี่คือความหมายจของผมว่า ระบบSap ทำไมถึง

ทำให้ผิดหวัง บางอย่าง SAP ทำไม่ได้หรือผิดทางด้วยซ้ำ

เช่นการวิเคราะห์หาค่า Varience เรากลับมองว่า ระบบเก่า

ที่ทำอยู่ สามารถMonitor ได้ชัดเจน รู้ที่มาที่ไป แต่ SAP

ยังไม่สามารถตอบสนองเราได้ ยกเว้นต้องจ่ายเพิ่มและคน

แก้ไขก็ยังไม่แน่ใจว่าจะทำได้แม่นหรือไม่ มี่ได้คำตอบคือ

บอกว่า ขั้นตอนการผลิตของPatra ซับซ้อนเกินไป หลากหลาย

เกินไป

 

 

  ความคิดเห็นที่ 6 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  24 มิย 52 - 17:42:41  

นี่คือระบบการบริหารข้อมูล ก่อนมาใช้ SAP

แต่ที่บอกว่าไม่ประสบความสำเร็จ หมายถึง

เราต้องการให้ระบบทุกระบบถูกเชื่อมโยงกัน

และเตรียมพร้อมที่จะให้ ต่างประเทศ ที่เข้าเป็น

Joint Venture กับ Patra สามารถเอาปลั๊กเข้า

มาเสียบเชื่อมต่อกับเราได้อย่างราบรื่น ซึ่งเราผิดหวัง

จากจุดนี้ และที่การเชื่อมโยงทั้งโครงสร้าง เราพบปัญหา

มากมายซึ่งเกือบจะทำให้เราเดินการผลิตไม่ได้ ทั้งที่มี

การซักซ้อมกันพอสมควร

สิ่งที่เราแก้ไขคือ หลังจากนั้น เราเดินระบบขนานเพื่อให้งาน

เดินไปได้แล้วค่อยปรับSAPให้เดินคู่กันไปและค่อยFade

ระบบเก่าออก แล้วเก็บไว้เพื่อใช้ในการทำ Report ต่างๆ

ที่คุ้นตาและเข้าใจง่าย

 

 

  ความคิดเห็นที่ 5 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  24 มิย 52 - 17:26:35  

ผมก็ยังนึกแปลกใจว่า เราสร้างตัวตน และพัฒนาธุรกิจ

มาถึงขั้นฟันฝ่าวิกฤตชนิดที่ เจ้าของถอดใจกันไปแล้ว

แต่ลูกจ้างอย่างพวกเรากลับมีกำลังใจ มองเห็นทาง

และต่อสู้จนหลุดพ้น 40 มา แล้วทำไมเราถึงไม่ประสบ

ความสำเร็จในการเอาระบบ SAP มาใช้

ใช่ครับ วินัยคือสิ่งที่สำคัญต่อการทำงาน

และต้องขอบอกว่า ทั้ง Patra Ceramic

หรือ Patra Porcelain ถึงตอนนี้ก้ยังใช้ระบบ

Sap อยู่และก็ยังใช้ในการผลิต

แต่สิ่งที่ผมกำลังสื่อให้เห็นว่า ถ้าระบบเดิมที่เรามีอยู่แล้ว

สามารถ Mornitor อะไรได้ดีอยู่แล้ว เช่น

ก่อนเริ่ม SAP เรามีระบบ รายงานแบบ Real Time

ยอด บรรจุ ชนิดการบรรจุ ยอดสินค้าเข้า Stock

ยอดการเบิก จ่าย รายงานการผลิต รายงานของเสีย

สาเหตุของเสีย รายงานQC QA ตลอดจน รายงาน

การผลิต เทียบกับแผนผลิตรายงาน WIPทุกขั้นตอน

ซึ่งทุกอย่างสามารถดูได้และบริหารได้ อีกทั้ง บัญชี

สามารถเห็น WIP เห็น Finished Good เห็นยอดการ

เบิกจ่ายได้ทุกบ่าย ที่สำคัญ เราสามารถ Simulate

ต้นทุน เทียบค่าใช้จ่ายการผลิตได้ทุกวัน ว่า วันนี้เราผลิต

สินค้ารายการนี้ ต้นทุน สุงหรือ ต่ำกว่า STD Cost ที่เราตั้งไว้

หมายถึง สามารถรู้กำไรขาดทุนได้ทุกวัน รู้ว่าอะไรคือตัวที่ทำให้

เกิด Varience กับต้นทุนการผลิต และที่สำคัญ เราไม่เคย

ต้องปรับปรุงยอดบัญชีให้ตรงกับยอดตรวจนับเลย

 

 

  ความคิดเห็นที่ 4 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  24 มิย 52 - 17:05:22  

ที่ผมถ่ายทอดออกมาก็เพราะ ยังมีคนที่ได้ทราบที่มาที่ไปของ

โรงแก้วอยู่อย่างจำกัด 

โรงงานถ้วย จาน ชาม ถ้าเทียบรายได้ต่อ ค่าใช้จ่ายแรงงาน

จะสุงกว่าโรงานกระเบื้อง นั่นหมายถึงเป็นลักษณะโรงงานที่

หลีกเลี่ยงที่จะหาเครื่งอจักรมาแทนคนได้ เนื่องจากความซับ

ซ้อนในการผลิตโดยเฉพาะรูปทรงที่เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนา

เครื่องจักรมาทดแทน

เมือขั้นตอนต้องใช้คนมาก ความผิดพลาดเรื่องคนเป็นสิ่งที่หลีก

เลี่ยงได้ยาก แต่ด้วยความสามารถที่เกิดจากทั้งองค์กร จึงทำให้

เราสามารถพัฒนาตัวเราเองจนผลักดันให้สินค้าตืดตลาดมาจนถึง

ปีวิกฤตเศรษฐกิจปี 40 โรงแก้วได้ต่อสู้ฟันฝ่าวิกฤต ด้วยพลังของ

และกำลังใจของพนักงานที่ลุกขึ้นสู้กับสภาวะเลวร้าย จนสามารถฝ่า

ฟันมาได้

มีเรื่องหนึ่งที่ต้องกล่าวถึงคือ นับแต่ปี 2530 เป็นต้นมา บุคคลากร

ของเราได้ถูกดึง ถูกแย่งตัวไปอยู่ตามที่ต่างๆ โดยเฉพาะโรงงานเซรามิก

ใหญ่อย่าง ยุคสร้างโรงงานได้ซื้อตัวบุคคลากรของเราไป่ช่วยตั้ง Plant

กาสะลอง CIRCLE และอีกหลายโรงในแถบจังหวัดลำปาง

จนสร้างความสำเร็จมาจนถึงปัจจุบัน และกลายเป็นแหล่งความรู้ของ

ล้วนใช้บริการติดตั้ง ฝึกหัดการใช้เครื่อง จาก ศิษย์เก่าโรงแก้วแทบทั้งสิ้น

แม้กระทั่ง นักวิชาการญี่ปุ่นบางคนที่หลังจากเกษียณก็ได้ไปปักหลักทำวิจัย

ให้ความรู้กับสถาบันวิจัยเซรามิกลำปางก้คือคนที่อยู่กับบริษัทภัทรา มาแล้ว

ทั้งสิ้น แม้กระทั่ง ดร บางคนที่ทำงานที่นั่น ก้มีความคุ้นเคยกับผมในฐานะ

เคยเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาสมัยมาทำงานที่ ภัทรา รีแฟรคทอรี่ก่อนที่จะไป

เรียนต่อจนจบ ดร ถ้าเอ่ยชื่อก็คงรู้

จักกันดี

 

 

  ความคิดเห็นที่ 3 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  24 มิย 52 - 16:56:43  

เรามีแนวความคิดปรับปรุงและพัฒนา การผลิตโดย

ค้นหาเทคนิกมาผสมผสานกับงานศิลปะ เพื่อให้เกิด

สินค้าใหม่ๆดังที่ได้เคยให้ดูตัวอย่างไปแล้ว เรียกได้

ว่า คือผู้นำทางด้านการผลิตถ้วยจานชาม สโตนแวร์

อยู่ช่วงหนึ่งคือในปี 2532-2535 ซึ่งช่วงนั้น กำลัง

ผลิตของเรา ไปไกลถึง 2,700,000 ชิ้นต่อเดือน

บวกกับการตลาดที่ได้มือดีอย่าง คุณ วีรวัฒน์ ชลวนิช

ผู้บุกเบิก ICT ธุรกิจในเครือสยามซีเมนต์ เข้ามาร่วมงาน

ทำให้สินค้าของเราตีคู่แข่งที่ครองตลาดในอเมริกา นั่นคือ เกาหลี

ไต้หวัน ญี่ปุ่น กอร์ปกับเราได้ลงนามเป็นหุ้นส่วนธุรกิจกับ

JMP NEWCOR ผู้ค้าส่งรายใหญ่ทางด้านถ้วยจานชามของ

USA ทำให้สินค้าของเราถูกวางขายใน USA ทุกรัฐ ด้วยกำลัง

ซื้อ ถึง ปีละกว่า 1000 ล้านบาท

  ความคิดเห็นที่ 2 ชาวบ้าน โป่งแร้ง  |  24 มิย 52 - 16:32:24  

จริงแล้ว การพัฒนาการผลิตของเซรามิก ในแถบชุมชนเขาโป่งแร้ง

ไม่ว่าจะเป็นกระเบื้อง ถ้วย จาน ชาม ล้วนแต่สร้างรายได้ให้กับประเทศ

อย่างมหาศาล

ผมเกิดและเติบโตจาก ถ้วย จาน ชาม พนักงานแถบนั้นเป็นญาติพี่น้องกัน

ทั้งสิ้น สามีอยู่โรงกระเบื้อง ภรรยาอยู่โรงแก้ว คนโรงแก้วหลายคนที่

ย้ายไปทำงานโรงกระเบื้อง ก็มาก เซรามิก จุฬามาทำงานที่โรงแก้ว

แล้วออกไปอยู่ Cotto ไปได้ดีอยู่ NKG ก็มาจากโรงจานชามหลายคน

ครับ เอ่ยชื่อก็รุ้จักกันหมด คุณสุรพล NGK นี่ถ้าบอกชื่อไปก็อ๋อแล้ว

เพราะเคยทำงานร่วมกันมา ตั้งแต่ก่อนยุคโรงแก้วเข้าเข้าตลาดหลักทรัพย์

แต่ก็ต้องอย่าลืมว่า นับแต่ก่อนปี 27 มีเจ้าของแถบนั้นมีเพียงแค่รายเดียว

ที่เริ่มธุรกิจ เซรามิก แล้วแตกหน่อ ออกไปเป็นหลายเจ้าของ

TCC, UMI, RCI, DINASTY ,ABT ,PC

กลุ่มโรงงานเหล่านี้ ผมจำได้ วันที่ร่วมหัวกันนำก๊าซธรรมชาติอย่างประสบ

ผลสำเร็จ

   หนึ่งในนั้นคือโรงแก้ว หรือที่เรียกภาษาทางการว่า Pata Ceramic

และถือว่าเป็นรุ่นบุกเบิกการใช้ก๊าซในวงการเซรามิก วันนั้น บุคคลากร

ก็เป็นคนโป่งแร้งอยู่กับโป่งแร้งมาจนยี่สิบกว่าปี

 โรงแก้ว คือโรงงานเดียวที่ผลิตถ้วย จาน ชาว ในย่านนั้น

และด้วยการลงทุนอย่างต่อเนื่อง จนเกิดโรงงานใหม่ที่ หนองแค

เราพัฒนาการผลิต พัฒนาบุคคลากร ตลอดจน เทคโนโลยี่ต่างๆ

สร้างความแปลกใหม่ให้กับวงการถ้วย จาน ชาม อยู่อย่างเสมอ

และกล้าพูดได้ว่าเป็นโรงงานที่ผลิตเคลือบสีอย่างเอาจริงเอาจัง

เป็นโรงแรกของประเทศก็ว่าได้ ถึงแม้ว่า RPC จะเริ่มผลิตมาก่อน

แต่ก็ไม่ได้เน้นหนักกับการผลิตเคลือบสีอย่างจริงจัง

 

  

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  24 มิย 52 - 13:28:10  
เขาโป่งแร้งถ้าเราดูในแผนที่คงไม่มีใครเห็นแน่ คนไทยทั่วๆไปก็คงไม่รู้จักเพราะเป็นเขาเล็กๆที่ไม่ได้มีสถานที่ท่องเที่ยวอันใดเลย แต่สำหรับคนเซรามิกแถบหินกอง เขาลูกนี้มีความหมายมาก นักเซรามิก วิศวกร พนักงานหลายต่อหลายคนรู้จักเขาโป่งแร้งเป็นอย่างดี ในฐานะเป็นที่ตั้งโรงงานเซรามิกมากมาย ทั้ง COTTO กระเบื้องและสุขภัณฑ์ ไดนาสตี้ สหโมเสค RCI RABT ภัทราเซรามิก ภัทรารีแฟรกทอรี่ หรือแม้แต่โรงกระเบื้องน้องใหม่อย่าง TT Ceramic นับว่าเขาโป่งแร้งมีกำลังการผลิตกระเบื้องมากกว่า 70 % ของการผลิตกระเบื้องทั้งหมดในประเทศไทย โปรแกรมวางแผนการผลิต SAP นั้นใช้กันทั่วไปทั้งโรงกระเบื้อง โรงสุขภัณฑ์ โรงถ้วยชาม ซึ่งมีจุดดีมากมาย ฝ่ายผลิตสามารถรู้ยอดการผลิตได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ รู้ต้นทุนการผลิตในระหว่างเดือน บัญชีสามารถทำต้นทุนได้อย่างรวดเร็ว สโตร์คำนวณยอดการใช้และการสั่งซื้อร่วมกับทางจัดซื้อได้อย่างดี ข้อที่ยังเป็นปัญหามีอยู่บ้างในขั้นตอนรายละเอียดลึกๆเช่นการคำนวณสีเคลือบลงหม้อบด ซึ่งอาจยังต้องใช้มืออยู่ โดยรวมแล้ว SAP มีประสิทธิภาพกว่า 85% สาเหตุที่โรงงานไหนใช้แล้วมีปัญหา ผมฟันธงได้เลยว่าเป็นดพราะคนไม่มีประสิทธิภาพ ระบบ SAP ต้องมีวินัยในการ key ข้อมูล แรกๆที่ใช้กันก็มีปัญหาเยอะเพราะคนไม่ key ข้อมูลหรือ key ผิด หรือละเลย หัวหน้าก็ไม่ติดตาม ก็เลยทำให้ดูเหมือนว่าระบบมีปัญหา อย่าไปโทษระบบเลยครับ เราต้องโทษคนที่ใช้ระบบมากกว่า