กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: 6 ซิกม่า
จอมยุทธฯ  |  10 กพ 53 - 16:21:10  
ผมอยากทราบเรื่อง 6 ซิกม่า ครับว่าเป็นอย่างไร เหมาะที่จะใช้กับงานเทเลิ้ลแวร์รึเปล่า แล้วจะมีคามยากง่ายในการทำรึเปล่า เพราะมี loss ในกระบวนการเยอะขึ้นครับ อาจารย์ช่วยให้ความคิดเห็นหน่อยครับ
ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 6 คชินท์  |  22 กพ 53 - 21:25:13  

ผมพยายามผลักดันเสมอให้นำ Tools เหล่านี้มาใช้ถ้าเราต้องการมุ่งสู่ Zero defect จะมา KKD อยู่ ใช้แต่ความเก๋า ไม่มีทางไปถึงหรอก อย่างบริษัทของวิรัช คนเก๋ามันเยอะ ใช้ประสบการณ์ล้วนๆ ถามว่าดีไหม มันดีแค่ช่วงเดียวพอ Yield เลย 85% ความเก๋าก็เอาไม่อยู่หรอก มันต้องใช้ Fact&Tools เหล่านี้

ตอนนี้ Excella กำลังมุ่งสู่ Zero defect แล้วครับ ตำหนิร้าวแค่ 0.8% ก็ตั้งทีมแก้กันแล้ว บางแห่งร้าวเพียบก็ยังไปแก้แบบกันอยู่เลยถ้าเป็นแบบนี้ยังห่างไกลครับ พี่เป็นกำลังใจให้นะวิรัช เราทำให้เขาเห็นว่า Fact & Data &Tools สำคัญต่อการผลิตเซรามิกแค่ไหน ถ้าต้องการ %Once fire yield 99.9%

  ความคิดเห็นที่ 5 วิรัช  |  19 กพ 53 - 22:17:46  
เรีนย อ.คชินทร์
    ตอนนี้ที่แผนกยังไม่ได้เริ่มครับ น่าจะขอดูแค่ Cpk ไปก่อน แต่ผมหวังใจว่า จะเริ่มนำ Tools บางอย่างเข้าไปแก้ไขครับ เช่น Hypothesis test แบบ t และ f-test เพราะว่าตอนนี้เพิ่งเรียน Course green belt กับ TQPC มาครับ และกะว่าจะเอา DOE กับพวก Muti-Vari และ Advance regression มาทดลองหาสมการความกนาดูครับ(ลองวิชาดูครับ)


หากท่านใดสนใจก็คุยกันได้ครับจะได้ช่วยกัน..บางทีเซรามิกอย่างเรา ๆ อาจเอา Six Sigma มาใช้อย่างมีประสิทธิผลก็ได้ครับ
  ความคิดเห็นที่ 4 xman  |  17 กพ 53 - 17:05:38  
"factor มีมากจริง ๆ หรือการเกิดปัญหาแบบ Chronic นั้นบางครั้งก็หาคำตอบไม่ได้" +1 (ชอบ)
ดูจากอาการปัญหาของเจ้าของกระทู้ (มีlossในกระบวนการเยอะขึ้น) ผมขอวิเคราะห์แยกเป็น 2แนวทาง(ตีความหมาย)
1.loss ในกระบวนการเยอะ (loss ผมขอตีว่าเป็นของเสีย เพราะประเด็นคุยเรื่องคุณภาพ) หากyieldไม่ถึงขั้น 99%เราอาจจะใช้เครื่องมือพื้นฐานก่อน เพราะโดยปกติtable ware yield น่าจะประมาณ 70-90% เช่น QC7tool ,QCC ฯลฯ ซึ่งทำได้เลย ไม่ต้องลงทุนสูง หากlossเยอะยังงัยผมคิดว่า QC 7 tool น่าจะแก้ปัญหาได้เร็ววกว่า
2.lossในกระบวนการเยอะขึ้น หมายถึงจากเดิมน้อย(แล้วมีความสุขกับค่านี้)แต่ปัจจุบันมีเยอะขึ้น หากเป็นลักษณะนี้น่าจะเป็นปัญหาจากระบบการควบคุมบางอย่างไม่เหมาะสมหรือเพียงพอ (ลองอ่านบรรทัดแรก 555) อาจจะใช้ระบบมาตรฐานเข้ามาช่วยจัดการเช่น ISO9000(เอามาใช้จริงจัง)

"ยาแก้มีหลายละดับ ต้องดูที่อาการ และจ่ายยาตามความเหมาะสม"
"วิตามิน อาจจะเหมาะกับคนบางกลุ่ม เพราะการดำเนินชีวิตแต่ละคนแตกต่างกันไป"
ผิดพลาดประการใดขออภัยมา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
  ความคิดเห็นที่ 3 คชินท์  |  16 กพ 53 - 21:21:48  
"อีกทั้งการใช้สถิติขั้นสูงที่ถือว่าเป็นหัวใจของระบบ แต่ผู้บริหารอาจเข้าใจยากสักหน่อย" วิรัชบ่นใครเอ่ย แซวเล่นน่ะครับ แล้วที่แผนกจะเริ่มหรือยังครับ ผมว่าที่นั่นพร้อมมากๆเลยทั้งทีมพนักงานและระดับสตาฟ 
  ความคิดเห็นที่ 2 วิรัช  |  16 กพ 53 - 18:59:34  
ในความเห็นของผมนะผมว่าการจะทำ Six Sigma ในกระบวนการผลิตเซรามิกนั้น ต้องใช้ความพยายามมากซักหน่อย เพราะว่า factor มีมากจริง ๆ หรือการเกิดปัญหาแบบ Chronic นั้นบางครั้งก็หาคำตอบไม่ได้ (โดยส่วนใหญ่เซรามิกเราจะเป็นอย่างว่า) แต่ก็อยู่ในขอบข่ายที่สามารถทำได้ครับ แต่เท่าที่พบประสบมาก็คือ หากเรื่องนี้ไม่เป็นนโยบายลงมาชัดเจน ความสำเร็จคงเกิดได้ยาก เพราะว่าก่อนที่จะมาเป็นระบบ Six Sigma ได้นั้นต้องใช้ทรัพยากรทั้งคน เวลาและเงินมาก อีกทั้งการใช้สถิติขั้นสูงที่ถือว่าเป็นหัวใจของระบบ แต่ผู้บริหารอาจเข้าใจยากสักหน่อย 

อย่างไรก็ตามหากจะนำมาประยุกต์จริง ๆ คงต้องเลือกเอาครับ เช่น Cp Cpk ,ControlChart หรือจะเป็นสถิติเพื่อการแก้ปัญหาเช่น F-test , t-test , ANOVA หรือ DOE โดยอาจเน้นไปทำที่ Cp Cpk ก่อนก้ได้ครับ


หรือท่านอื่น ๆ มีความเห็นว่างัยครับ


  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  15 กพ 53 - 20:26:06  

ซิกซิกม่าเป็นเรื่องที่ดีมากถ้าเราสามารถนำมาใช้กับองค์กรของเราได้ ไม่เฉพาะกับ Tableware หรือเซรามิกอื่นๆแต่ยังสามารถทำได้กับงานทุกงาน แก่นแท้ของมันคือทำอย่างไรให้เราวัดผลได้ โดยวัดเป็นตัวเลขที่ชัดเจน ไม่ใช่แค่บอกว่าดีขึ้นหรือแย่ลงโดยใช้ความรู้สึก ทุกอย่างสามารถแปลออกมาเป็นตัวเลข เริ่มต้นเราอาจไม่ต้องทำเต็มรูปแบบ เป็นแค่เพียงProject ที่เราเห็นว่ามีผลต่อของเสีย ต่อต้นทุน หรือต่อการพัฒนาผลิตภัณฑ์ โดยพิจารณาระดับของปัญหาในสภาพปัจจุบัน และจัดทำเป้าหมาย

ซิกซกม่ามีขั้นตอนในการทำดังนี้ D-M-A-I-C Define-Measure-Analysis-Improve-Control ความหมายคือกำหนดหัวข้อปัญหาและทำการวัดผลก่อนการแก้ไขหลังจากนั้นวิเคราะห์ปัญหาแล้วนำผลวิเคราะห์ไปปรับปรุงเมื่อดีแล้วก็นำมาควบคุมมัน ผสานกับเครื่องมือทางสถิติเช่นฮีสโตแกรมและ Control chart เริ่มต้นเราไม่อาจทำได้ 6 sigma แต่เราเริ่มปรับปรุงให้ค่าควบคุมของเราแคบลงเรื่อยๆจนสุดท้ายเป้าหมายที่เราต้องการคือ 6-sigma นั่นหมายถึงมีโอกาสเกิดความผิดพลาด 3.4 ครั้งในล้านครั้ง ซึ่งเรียกว่าระดับ Zero loss หรือระดับโลกเลยทีเดียว

ไม่ยากหรอกครับแต่ต้องอาศัยลูกอึดและพื้นฐานของทีมงานที่มีความมุ่งมั่นในการมุ่งสู่ 6-sigma