กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: ขอทราบ กลไกการเกิดปฎิกริยาของCuOในเคลือบ
บี  |  04 มีค 53 - 13:40:20  

ก่อนอื่นขอสวัสดี ดร คชินท์ ก่อนครับ ผมได้เข้ามาดูเวปนี้หลายครั้งแล้ว อยากจะบอกว่าสำหรับชาวเซรามิกแล้วเวปนี้ดีมากๆ ครับ

พอดีทำการทดสอบเคลือบที่ผสมCuOในปริมาณมากเกิน10%ในระหว่างที่เรียน พบว่ามีประกายมุกและผลึกของโลหะCuเกิดขึ้น เลยสงสัยว่ามันเกิดได้อย่างไรครับ และผมสนใจจะทำวิจัยจะดีไหมครับ ถ้ามีแนวทางเพิ่มเติมผมขอเปเปอร์ด้วยได้ไหมครับ not_sexyboy@hotmail.com

ผมคิดว่ามันน่าจะแบบนี้หรือเปล่าครับ

2CuO + CO ----------> Cu2O + CO2---->Cu+O2ในกรณีที่มีCuOเยอะๆ หนะครับเลยเกิดเป็นผลึกขึ้นมา พอเป็นผลึกแขวนลอยในเคลือบ มันก็ทำให้ดัชนีการหักเหของแสงในเคลือบเปลี่ยนแปลง เลยเกิดประกายมุก ???

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 2 บี  |  07 มีค 53 - 21:43:59  

ขอบคุณมากครับ

ผมจะลองดูครับถ้ามีอะไรคืบหน้าผมจะมาขอคำปรึกษานะครับ

  ความคิดเห็นที่ 1 คชินท์  |  07 มีค 53 - 19:25:43  
การใส่ออกไซด์ในปริมาณมากๆในเคลือบจะทำให้เกิดการอิ่มตัวมีบางส่วนเกิดผลึกแต่บางส่วนเป็นตัวมันเองที่ละลายอยู่ในเคลือบซึ่งจะทำให้เกิดการหักเหของแสงอย่งที่คุณบีว่าน่ะครับ ผมเคยพยายามจะเอาชิ้นงานของเคลือบโลหะที่เกิดจาก Cu-saturated นี้ไปยิง EDAX แต่บอกยากมากว่าเป็นอะไรมีบางจุดเป็น Copper silicate บางจุดเป็น องค์ประกอบของเคลือบเฉยๆ แต่ไม่มีจุดใดเลยที่เป็น Peak Cu ล้วนๆ แสดงว่าผลึกหรือตัวมันเองที่แขวนลอยอยู่นั้นเล็กมาก ถ้าจะวิจัยน่าจะดูเรื่อง Basic glaze ที่เหมาะสมกับเคลือบโลหะแบบนี้ และพัฒนาเรื่องความทนทานต่อสารเคมี ความทนทานต่อการขัดสีและปริมาณ Cu ที่สามารถถูกปลดปล่อยออกมาได้ เพราะบางประเทศเขา Declair ว่า Cu เป็นสารอันตราย แต่ถ้าเราสามารถทำให้เคลือบโลหะแบบนี้ไม่มีปริมาณ Cu หลุดออกมาจากการทดสอบกรดได้ก็จะดีครับ