กระเบื้องแสงรุ้งกลาสโมเสค
Pakarung - Think Ceramic Think Pakarung
ซิเบลโก้ มิเนอร์รัลส์ จัดหาแร่คุณภาพสำหรับอุุตสาหกรรมเซรามิคส์
Ferro
Keramat
MS Industrial Supplies
Ceramics R Us
กลับไป Webboard
  TOPIC: การดูดนำของชิ้นงาน
ดินป้น  |  04 มีค 53 - 16:08:52  

ผมมีข้อสงสัยครับ ผมเคยเอาชิ้นงานtable ware เผาเคลือบแล้ว 1200 ไปแช่นำ มันดูดซึมขึ้นตามขอบขาเลยครับ

เลยทดลองใหม่ หา %WAด้วยปรากฎว่า %WAตำๆ ~2 มันดูดครับ แต่4%ไม่ดูดเฉยเลย ทั้งๆที่วางเผาที่เดียวกันแต่ที่%ตำๆผมลองเพิ่ม feld ในสูตรโดยการADDครับ

ผมลองอีก วางตำแหน่งเผาคนละที่ แต่เตาเดียวกัน ที่temp กว่า เช่น 1185 ไม่ดูดครับแต่ 1203 ดูดครับ งงมากครับ ช่วยแนะนำหน่อยครับ

ตอบกระทู้
  ความคิดเห็นที่ 6 ดินปั้น  |  11 มีค 53 - 10:06:52  
ขอบคุณมากครับ สำหรับคำแนะนำ
  ความคิดเห็นที่ 5 วิรัช  |  11 มีค 53 - 09:20:11  

อืม...แปลกดีครับ ที่เมื่อเผา Temp สูงกว่าแต่ดูดน้ำมากกว่า อันนี้ไม่เคยเจอเหมือนกัน......

แต่ผมสงสัยว่า..% WA ทีว่านี้ชัวร์ไช่มั้ยครับ หาจากน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นบริเวณนั้นจริง ๆ เพราะว่าดูแล้ว Temp ไม่ค่อยนิ่งเลยนิ....เอาเรื่อง Capillary force ดีก่า

...เอาเป็นว่าตามที่อ. คชินทร์ว่านะครับ

ปรากฏการณ์ Capliilary คือ การซึมตามช่องขนาดเล็ก เป็นปรากฎการณ์ที่ทำให้ของเหลวในที่นี้คือน้ำ ถูกยกสูงขึ้นในหลอดทดลองขนาดเล็กที่เรียกว่าหลอดแคปิลลารี่ โดยผิวหน้าของของเหลวจะมีลักษณะโค้งนูน หรือเว้า เกิดจากแรง 2 ชนิด คือ

 

 

1. แรงโคฮีชั่น (cohesion force) เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารชนิดเดียวกัน

 

2.   แรงแอดฮีชั่น (adhesion force) เป็นแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารต่างชนิดกัน

 

       โดยปกติแรงทั้งสองชนิดของของเหลวในภาชนะจะมีทิศตั้งฉากกันเมื่อของเหลวอยู่ในสมดุล แต่ถ้าแรงโคฮีชั่นมีค่ามากกว่าแรงแอดฮีชั่น มุมระหว่าง เส้นสัมผัสกับผนังภาชนะจะมีขนาดเกินกว่า 900 ผิวของเหลวจะโค้งนูน เช่น ปรอทซึ่งเป็นของเหลวที่ไม่เกาะติดภาชนะ ถ้าแรงโคฮีชั่นมีค่าน้อยกว่าแรงแอดฮีชั่น มุมระหว่างเส้นสัมผัสกับผนังภาชนะจะมีขนาดน้อยกว่า 900 ผิวของเหลวจะโค้งเว้า เช่น น้ำ

ดั้งนั้น สรุปว่า การดูดซึมน้ำที่ว่านี้ ทั้ง %WA 2% และ 4% มันก็เป็นไปตามหลักที่ว่า 4% ควรดูดน้ำมากกว่า 2% แต่ที่เห็นอาจเป็นเพราะว่า %WA 2% มันมีค่า Capliiary มากกว่า(ดูสมการถ้า r มาก ๆ มันจะทำให้ดูดได้สูงมาก ในขณะเดียวกันมันก้มองเห็นได้ยากด้วย .... ดังนั้น จินตนาการว่า %WA 2% มันมีช่อง Capillary เล็กกว่า) จึงทำให้ดูแล้วน้ำขึ้นไปไม่ทั่วถึง...ขณะที่ %WA 4% มันดูดได้ทั่วไปหมดเลย..

 

ลองพิจารณาดูครับ .....หรือรออ.คชินทร์มาเสริมต่อครับ
  ความคิดเห็นที่ 4 ดินปั้น  |  08 มีค 53 - 10:02:01  
อาจารย์ช่วยอธิบายเรื่อง capillary force ให้ด้วยครับ เพราะผมมองภาพไม่ออก ไม่มีความรู้เลยครับ
  ความคิดเห็นที่ 3 คชินท์  |  07 มีค 53 - 20:32:21  
อ่านแล้วก็ดูแปลกๆนะครับ คล้ายกับว่าที่Temp ต่ำ มีการดูดซึมน้ำสูงกว่ามันเลยดูสีเหมือนกันทั้งชิ้นเพราะมันดูดน้ำใกล้เคียงกัน แต่พอที่ Temp สูงขึ้นความแตกต่างระหว่างบริเวณที่มีเคลือบกับไม่มีเคลือบมันจะแตกต่างกันมากขึ้นจึงเกิดเป็น Capillary force ที่บริเวณดังกล่าวก็เลยเห็นชัดว่ามีการดูดน้ำขึ้นไป ผมว่าที่ 4% มันก็ดูดแต่ดูดเหมือนกันทั้งหมดเราเลยสังเกตยากครับ
  ความคิดเห็นที่ 2 ดินปั้น  |  06 มีค 53 - 11:35:18  
เป็นดิน stoneware ครับ
  ความคิดเห็นที่ 1 บี  |  05 มีค 53 - 20:32:02  
ดินโดโลไมท์ป่าวครับ